siradulyakorn 239
Call 094-792-9545
วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
Ectomycorrhiza เอคโตไมคอร์ไรซ่า
เอคโตไมคอร์ไรซ่า |
เห็ดตับเต่า จัดอยู่ในกลุ่มเอคโตไมคอร์ไรซ่า (Ectomycorrhiza, ECM) คือ เป็นเชื้อราที่มีความสัมพันธ์กับระบบรากอาหารของต้นพืชชั้นสูง เป็นการอาศัยอยู่ร่วมกันแบบเอื้ออำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกันคือ ต้นไม้ได้รับน้ำและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตจากเชื้อรา และเชื้อราช่วยป้องกันรากพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อโรค ในส่วนเชื้อราก็ได้รับสารอาหารจากต้นไม้ที่ปลดปล่อยออกมาทางระบบราก ได้แก่ โปรตีน วิตามิน หรือน้ำตาล
ทำให้พืช เจริญงอกงามดี
วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
แบคทีเรีย ตระกูล ไรโซเบียม ( Rhizobiaceae)
ภาพจากกลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กรมวิชาการเกษตร |
แบคทีเรีย ตระกูลไรโซเบียม ( Rhizobiaceae) ที่สามารถเข้าสร้างปมรากกับพืชตระกลูถั่วได้ และเจริญอยู่ภายในปมรากแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (symbiosis) ไรโซเบียมสามารถตรึงไนโตรเจน โดยใช้เอนไซม์ไนโตรจีเนส (nitrogenase) ควบคุมปฏิกิริยาการเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนที่มีอยู่ในบรรยากาศถึง 78 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักให้เป็นสารประกอบไนโตรเจนเพื่อให้พืชใช้ในการเจริญเติบโตได้
ไรโซเบียม กรมวิชาการเกษตร ใช้กับพืชตระกูลถั่ว |
ภาพจากกรมวิชาการเกษตร วิธีการใช้ |
ประโยชน์ที่ได้จากการใช้ ไรโซเบียมในการผลิตพืชตระกูลถั่ว ทำให้พืชตระกูลถั่ว เจริญเติบโตและทำให้ปริมาณไนโตรเจนในลำต้นถั่วเพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพของเมล็ดถั่วได้ โดยทำให้มีปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้นในเมล็ด นอกจากนี้ไรโซเบียมยังมีบทบาทสำคัญในระบบเกษตรยั่งยืน เนื่องจากสารประกอบไนโตรเจนที่ไรโซเบียมตรึงได้จะถูกสะสมในต้นถั่ว และเมื่อไถกลบก็จะถูกย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุไนโตเจนลงสู่ดิน ทำให้ดินคงความอุดมสมบูรณ์อยู่ได้นาน เหมาะแก่การเพาะปลูกพือื่นต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562
สวนมะม่วง คัณฑามพฤกษ์ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี 989
ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ชื่อวงศ์ ถิ่นกำเนิด สภาพนิเวศน์ การขยายพันธุ์ ประโยชน์ | ขุ (กาญจนบุรี), โคกแล้ะ(ละว้า-กาญจนบุรี), เจาะช๊อก,ช้อก(ชอง-จันทบุรี), หมักโม่ง (เงี้ยว-ภาคเหนือ), โตร๊ก(นครราชสีมา) เปา (มาเลย์-ภาคใต้), แป (ละว้า-เชียงใหม่) อมฺพ (อัม-พะ), อมฺโพ (อัม-โพ), เสตมฺโพ (เส-ตัม-โพ) Mangifera indica Linn. Mango Tree Anacardiaceaeมะม่วงเป็นไม้ดั้งเดิมแถบเอเชียเขตร้อนทั่วไป เช่น อินเดีย ไทย พม่า พบตามป่าทั่วๆไป และปลูกเป็นไม้ผล ตามบ้าน เพาะเมล็ด ติดตา ทาบกิ่ง ตอนกิ่ง เลี้ยงเนื้อเยื่อ ผลดิบช่วยระบายอ่อนๆ เนื้อในเมล็ดรักษาโรคท้องเดิน ยางจากต้นและผลดิบเป็นพิษกัดผิวหนัง ผลดิบ ผลสุก เป็นผลไม้และ ทำน้ำปานะ ผลดิบทำอาหารหวานคาว ใบอ่อนเป็นผักจิ้ม เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง |
มะม่วงในพุทธประวัติ
ครั้งก่อนได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับมะม่วงในศาสนาฮินดูเอาไว้ ในครั้งนี้จึงอยากจะยกเรื่องราวของมะม่วงที่ปรากฏในศาสนาพุทธมาไว้สักหน่อย เพื่อเน้นย้ำให้เห็นว่ามะม่วงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวอินเดียจริง ๆ ครับ
มะม่วงมีปรากฏในพุทธประวัติหลายครั้ง ในที่นี้จะขอยกมากล่าวไว้สัก 2 เรื่อง เรื่องแรกคือสวนอัมพวัน ซึ่งหมอชีวกโกมารภัจจ์ บรมครูแห่งแพทย์แผนไทยได้ถวายเป็นที่พำนักแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าสงฆ์สาวกทั้งปวง ทั้งนี้ด้วยตัวหมอชีวกฯ นั้นมีดำริว่าตนนั้นปรารถนาจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าวันละ 2-3 ครั้ง แต่ติดตรงที่พระเวฬุวันมหาวิหารที่พระเจ้าพิมพิสารทรงสร้างถวายแด่พระพุทธเจ้าเป็นที่พำนักนั้นอยู่ไกลจากที่พักของตน ไม่สะดวกแก่การเดินทางไปเฝ้านัก จึงดำริสร้างที่พักขึ้นในสวนมะม่วงของตนที่ได้รับพระราชทานมาจากพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อถวายเป็นราชฐานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงขนามนามสวนมะม่วงนั้นว่าชีวกัมพวัน อันแปลว่าอัมพวัน (หรือสวนมะม่วง) ของหมอชีวกฯ ที่แห่งนี้ยังเป็นที่ที่หมอชีวกฯ รักษาแผลห้อเลือดที่เกิดจากสะเก็ดหินกระเด็นต้องพระองค์อีกด้วย ปัจจุบันยังคงมีซากพระวิหารตั้งอยู่เป็นหนึ่งในพุทธสถานที่พุทธศาสนิกชนเดินทางมาสักการะ
อีกเรื่องหนึ่งที่มะม่วงปรากฏในพุทธประวัติคือเรื่องการทำยมกปาฏิหาริย์ สืบเนื่องมาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุทั้งปวงแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ (โดยต้นเหตุมาจากการที่พระปิณโฑลภารทวาชได้กระทำปาฏิหาริย์เหาะไปนำบาตรทำจากแก่นไม้จันทน์สีแดงดั่งครั่งลงมาจากยอดไม้ไผ่) ทำให้เหล่าเดียรถีย์ต่างได้ใจป่าวประกาศท้าแข่งอิทธิปาฏิหาริย์กับองค์พระพุทธเจ้า ด้วยสำคัญผิดว่าพระพุทธองค์ไม่สามารถแสดงปาฏิหาริย์ใด ๆ ต่อหน้าสาธารณชนได้อีก พระองค์จึงมีพระราชเสาวนีย์ตอบกลับไปว่า ตนจะแสดงปาฏิหาริย์ที่ต้นมะม่วง เมื่อเหล่าเดียรถีย์ได้ฟังดังนั้นจึงทำการโค่นต้นมะม่วงทิ้งทั่วเมือง เพื่อมิให้พระองค์มีที่ใช้แสดงปาฏิหาริย์
เมื่อถึงกำหนดวันแสดงปาฏิหาริย์ (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชา) พระองค์ทรงเสด็จออกบิณฑบาตเข้าเมือง ประจวบกับคนรักษาสวนของหลวงผู้หนึ่งชื่อนายคัณฑะได้นำผลมะม่วงสุกเข้าเมืองมาด้วยหมายใจจะนำไปถวายพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อได้มาพบพระพุทธองค์ก็บังเกิดความเลื่อมใสจึงได้ถวายมะม่วงผลนั้นให้เป็นทานแด่พระองค์ เมื่อพระองค์เสวยมะม่วงเสร็จก็มีรับสั่งให้นายคัณฑะนำเม็ดมะม่วงไปปลูก ณ จุดที่พบกัน เมื่อพระองค์รดน้ำล้างพระหัตถ์ลงไปยังเม็ดมะม่วงที่เพิ่งเพาะ ก็บังเกิดปาฏิหาริย์โดยเม็ดมะม่วงนั้นเติบโตเป็นต้นมะม่วงมีลูกสุกเต็มต้นในบัดดล ต้นมะม่วงนั้นได้รับนามว่าคัณฑามพฤกษ์ตามชื่อนายคัณฑะผู้ถวายมะม่วง หลังจากนั้นพระองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ที่ต้นคัณฑามพฤกษ์นี้ ให้ชื่อ
วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)