วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562

สวนมะม่วง คัณฑามพฤกษ์ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี 989

ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์




 
ขุ (กาญจนบุรี), โคกแล้ะ(ละว้า-กาญจนบุรี), เจาะช๊อก,ช้อก(ชอง-จันทบุรี), หมักโม่ง (เงี้ยว-ภาคเหนือ), โตร๊ก(นครราชสีมา)
เปา (มาเลย์-ภาคใต้), แป (ละว้า-เชียงใหม่) อมฺพ (อัม-พะ), อมฺโพ (อัม-โพ), เสตมฺโพ (เส-ตัม-โพ)
Mangifera indica  Linn.
Mango Tree
Anacardiaceae
มะม่วงเป็นไม้ดั้งเดิมแถบเอเชียเขตร้อนทั่วไป เช่น อินเดีย ไทย พม่า
พบตามป่าทั่วๆไป และปลูกเป็นไม้ผล ตามบ้าน
เพาะเมล็ด ติดตา ทาบกิ่ง ตอนกิ่ง เลี้ยงเนื้อเยื่อ
ผลดิบช่วยระบายอ่อนๆ เนื้อในเมล็ดรักษาโรคท้องเดิน ยางจากต้นและผลดิบเป็นพิษกัดผิวหนัง ผลดิบ ผลสุก เป็นผลไม้และ
ทำน้ำปานะ ผลดิบทำอาหารหวานคาว ใบอ่อนเป็นผักจิ้ม เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง
          ลักษณะ ไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาล หรือน้ำตาลดำ ถ้าสับเปลือกมียางใสๆ ซึมออกมา ยางเมื่อถูกอากาศนานๆ จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ยางนี้จะกัดผิวหนัง ใบดกหนาทึบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบ เดี่ยว รูปขอบขนานแกมรุปหอก ยาว เนื้อใบหนาเหนียวเป็นมัน ดอก ช่อ ดอกย่อยสีเหลืองอ่อนๆ ขนาดเล็กมาก รวมกันอยู่เป็นช่อใหญ่ออกที่ปลายกิ่ง  ในช่อจะมีดอกทั้งเพศผู้และเพศเมียปะปนกันอยู่  เกสรตัวผู้มี 5 อัน แต่จะเป็นเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์เพียงหนึ่งอัน ผล กลมหรือรี  มีเนื้อมาก มีเมล็ด 1 เมล็ด ผลสุกเนื้อจะนิ่ม มีสีเหลือง ถึงเหลืองส้ม กลิ่นหอม รสหวานมีเส้นใยมาก
มะม่วงในพุทธประวัติ

         ครั้งก่อนได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับมะม่วงในศาสนาฮินดูเอาไว้ ในครั้งนี้จึงอยากจะยกเรื่องราวของมะม่วงที่ปรากฏในศาสนาพุทธมาไว้สักหน่อย เพื่อเน้นย้ำให้เห็นว่ามะม่วงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวอินเดียจริง ๆ ครับ



       มะม่วงมีปรากฏในพุทธประวัติหลายครั้ง ในที่นี้จะขอยกมากล่าวไว้สัก 2 เรื่อง เรื่องแรกคือสวนอัมพวัน ซึ่งหมอชีวกโกมารภัจจ์ บรมครูแห่งแพทย์แผนไทยได้ถวายเป็นที่พำนักแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าสงฆ์สาวกทั้งปวง ทั้งนี้ด้วยตัวหมอชีวกฯ นั้นมีดำริว่าตนนั้นปรารถนาจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าวันละ 2-3 ครั้ง แต่ติดตรงที่พระเวฬุวันมหาวิหารที่พระเจ้าพิมพิสารทรงสร้างถวายแด่พระพุทธเจ้าเป็นที่พำนักนั้นอยู่ไกลจากที่พักของตน ไม่สะดวกแก่การเดินทางไปเฝ้านัก จึงดำริสร้างที่พักขึ้นในสวนมะม่วงของตนที่ได้รับพระราชทานมาจากพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อถวายเป็นราชฐานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงขนามนามสวนมะม่วงนั้นว่าชีวกัมพวัน อันแปลว่าอัมพวัน (หรือสวนมะม่วง) ของหมอชีวกฯ ที่แห่งนี้ยังเป็นที่ที่หมอชีวกฯ รักษาแผลห้อเลือดที่เกิดจากสะเก็ดหินกระเด็นต้องพระองค์อีกด้วย ปัจจุบันยังคงมีซากพระวิหารตั้งอยู่เป็นหนึ่งในพุทธสถานที่พุทธศาสนิกชนเดินทางมาสักการะ
อีกเรื่องหนึ่งที่มะม่วงปรากฏในพุทธประวัติคือเรื่องการทำยมกปาฏิหาริย์ สืบเนื่องมาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุทั้งปวงแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ (โดยต้นเหตุมาจากการที่พระปิณโฑลภารทวาชได้กระทำปาฏิหาริย์เหาะไปนำบาตรทำจากแก่นไม้จันทน์สีแดงดั่งครั่งลงมาจากยอดไม้ไผ่) ทำให้เหล่าเดียรถีย์ต่างได้ใจป่าวประกาศท้าแข่งอิทธิปาฏิหาริย์กับองค์พระพุทธเจ้า ด้วยสำคัญผิดว่าพระพุทธองค์ไม่สามารถแสดงปาฏิหาริย์ใด ๆ ต่อหน้าสาธารณชนได้อีก พระองค์จึงมีพระราชเสาวนีย์ตอบกลับไปว่า ตนจะแสดงปาฏิหาริย์ที่ต้นมะม่วง เมื่อเหล่าเดียรถีย์ได้ฟังดังนั้นจึงทำการโค่นต้นมะม่วงทิ้งทั่วเมือง เพื่อมิให้พระองค์มีที่ใช้แสดงปาฏิหาริย์

       เมื่อถึงกำหนดวันแสดงปาฏิหาริย์ (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชา) พระองค์ทรงเสด็จออกบิณฑบาตเข้าเมือง ประจวบกับคนรักษาสวนของหลวงผู้หนึ่งชื่อนายคัณฑะได้นำผลมะม่วงสุกเข้าเมืองมาด้วยหมายใจจะนำไปถวายพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อได้มาพบพระพุทธองค์ก็บังเกิดความเลื่อมใสจึงได้ถวายมะม่วงผลนั้นให้เป็นทานแด่พระองค์ เมื่อพระองค์เสวยมะม่วงเสร็จก็มีรับสั่งให้นายคัณฑะนำเม็ดมะม่วงไปปลูก ณ จุดที่พบกัน เมื่อพระองค์รดน้ำล้างพระหัตถ์ลงไปยังเม็ดมะม่วงที่เพิ่งเพาะ ก็บังเกิดปาฏิหาริย์โดยเม็ดมะม่วงนั้นเติบโตเป็นต้นมะม่วงมีลูกสุกเต็มต้นในบัดดล ต้นมะม่วงนั้นได้รับนามว่าคัณฑามพฤกษ์ตามชื่อนายคัณฑะผู้ถวายมะม่วง หลังจากนั้นพระองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ที่ต้นคัณฑามพฤกษ์นี้ ให้ชื่อ

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562