วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562

บุญต้นไม้เดินธุดงค์จากสี่ภาคสู่สุวรรณภูมิ

พระมหาเจดีย์ พุทธคยา ณ.วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี 989

พระธรรมโพธิ์วงศ์


                     พระเดชพระคุณ พระธรรมโพธิ์วงศ์ ได้มีดำหริ ว่าเราควรถวายแผ่นดินนี้ เป็นพุทธบูชา 
ด้วยพฤกษานานาพันธุ์ ด้วยบุญต้นไม้เดินธุดงค์ จากสี่ภาคของประเทศไทย มาสู่สุวรรณภูมิ
 ด้วยการนำต้นไม้พื้นบ้าน แต่ละภาค เช่น ทองกวาวตะโก จิกนา  ข่อย สักสิบสองต้น
มาปลูกล้อมรอบพระมหาเจดีย์ พุทธคา

ชมรมต้นไม้วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันดี 989 ใครขอเชิญผู้บริจาคต้นไม้ในพุทธประวัติก่อน 
เพื่อการจัดระเบียบต้นไม้ของวัด

เรียงแบบให้มีศีล
ต้นไม้มีระเบียบ
ดูงามตา
งามศรัทธาผู้ถวาย
งามปัญญาผู้ช่วยจัด


สารพันต้นไม้ในพุทธประวัติ 

ต้นไม้ในพุทธประวัติ

1. ต้นสาละ หรือ "สาละอินเดีย" ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea robusta วงศ์ Diptercaroaceae 
มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ท้งตอนประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน
 มีความสำคัญในพุทธประวัติดังนี้

สาละอินเดีย

ตอนพระพุทธเจ้าประสูติ
ก่อนพุทธศักราช 80 ปี พระพุทธมารดาคือพระนางสิริมหามายาทรงครรภ์ใกล้ครบกำหนดพระสูติการ
 จึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อไปมีพระสูติการที่กรุงเทพวทหะ อันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง
ตามธรรมเนียมประเพณีพราหมณ์ เมื่อขบวนเสด็จมาถึงครึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ
ณ ที่ตรงนั้นเป็นสวนมีชื่อว่า "สวนลุมพินีวัน" เป็นสวนป่าไม้ "สาละ" พระนางได้ทรงหยุดพักอิริยาบท
(ปัจจุบันคือตำบล "รุมมินเด" แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล) พระนางประทับยืนชูพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวกิ่ง
สาละ  และขณะนั้นเองก็รู้สึกประชวรพระครรภ์ และได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร ซึ่งตรงกับวันศุกร์
เพ็ญเดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี คำว่าสิทธัตถะแปลว่า "สมปรารถนา"
ตอนก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะจะตรัสรู้
เมื่อพระองค์เสวยข้าวมธุปายาสที่บรรจะอยู่ในถาดทองคำของนางสุชาดาแล้ว ได้ทรงอธิษฐานว่า
ถ้าพระองค์ได้สำเร็จพระโพธิญาณ ขอให้การลอยถาดทองคำนี้สามารถทวนกระแสน้ำแห่ง
แม่น้ำเนรัญชลาได้ เมื่อทรงอธิษฐานแล้วได้ทรงลอยถาด ปรากฎว่าถาดทองคำนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำ
จากนั้นพระองค์เสด็จไปประทับยังควงไม้สาละ ตลอดเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็นก็เสด็จไปยัง
ต้นพระศรีมหาโพธิ ประทับนั่งบนบัลลังก์ภายใต้ต้นโพธิ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในเวลารุ่งอรุณ ณ วันเพ็ญเดือน 6
ตอนสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
เมื่อพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เสด็จถึงเขตเมืองกุสินาราของมัลละกษัตริย์
ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญวดี พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์
ซึ่งเป็นองค์อุปัฏฐากปูลาดพระที่บรรทม โดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ระหว่างต้นสาละทั้งคู่
แล้วพระองค์ก็ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์ โดยพระปรัศว์เบื้องขวา
(นอนตะแคงขวาพระบาทซ้ายซ้อนทับพระบาทขวา) และแล้วเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน
ต้นสาละอินเดียนี้มักจะถูกเรียกสับสนกับ "สาละลังกา" หรือ "ต้นลูกปืนใหญ่" (Cannonball Tree)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Couroupita guianensis เป็นพืชในวงศ์จิก (วงศ์ Barringtoniaceae)

อ่านเพิ่มเติมใน http://my-experimental-farm.blogspot.com/2014/03/blog-post_3111.html

2. ต้นโพธิ ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus religiosa วงศ์ Moraceae ดังความในพุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้าตรัสรู้

ต้นโพธิ
เจ้าชายสิทธัตถะ ในระหว่างบำเพ็ญพรต เพื่อหาสัจธรรมได้ประทับนั่งที่โคนต้นโพธิ จนกระทั่งพระองค์ได้
ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ คือ อริยสัจ 4 ประกอบด้วย ทุข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อวันเพ็ญเดือน 6
หลังจากพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว แต่ก็ยังต้องทรงทำจิตให้แน่วแน่ตั้งมั่นยิ่งขึ้น จนกิเลสมิอาจรบกวน
ได้ต่อไป พระองค์ยังคงประทับอยู่ใต้ต้นโพธิอีกเป็นเวลา 7 วัน และกล่าวกันว่า ต้นพระศรีมหา
โพธิที่พระพุทธองค์ประทับจนตรัสรู้นั้น ได้ถูกประชาชนผู้ถือนับถือศาสนาอื่นโค่นทำลายไป
แต่ด้วยบุญญาภินิหาร มื่อนำนมโคไปรดที่รกจึงมีแขนงแตกขึ้นมาใหม่ และมีชีวิตอยู่มานาน
และแล้วก็ตายไป แล้วกลับแตกหน่อขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ต้นโพธิที่พุทธคยาที่อยู่ในปัจจุบันนี้
นับว่าเป็นช่วงที่สามของต้นดั้งเดิม 

3. ต้นนิโครธ ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus bengalensis วงศ์ Moraceae หมายถึง เป็นที่พำนักของคนเลี้ยงแกะ
ต้นนิโครธ แปลว่า ต้นไทร ตามพุทธประวัติกล่าวถึง

ต้นนิโครธ
ตอนที่ 1 เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญเพียรทุกขกิริยาแล้วเสด็จไปประทับนั่งที่ควงไม้อชปาลนิโครธ
 ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา 
ตอนที่ 2 เมื่อพระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ 7 วันแล้วจึงได้ทรงย้ายไปประทับ ณ ต้นไทรนิโครธ
 เป็นเวลาอีก 7 วัน เป็นต้นไทรนิโครธชนิดใบกลม

4. ต้นจิกมุจลินท์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Arringtonia Acutangula วงศ์ Barringtoniaceae ในพุทธประวัติกล่าวว่า
หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ทรงประทับอยู่ใต้ต้นนิโครธ 7 วัน แล้วเสด็จไปประทับใต้ต้นจิกอีก 7 วัน
ในขณะที่ประทับใต้ต้นจิกนี้ ได้มีฝนตกอยู่ไม่ขาดสาย อากาศหนาวจัดมาก มีพญานาคชื่อ "พญามุจลินท"
เห็นพระพุทธองค์แล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธา เกรงว่าพระพุทธองค์จะลำบากและทรมาน
จึงทำขดล้อมพระวรกายของพระพุทธเจ้าไว้ 7 รอบ และแผ่พังพานปกคลุมพระเศียร
ดูคล้ายเป็นเศวตฉัตรช่วยกันฝนและช่วยให้บริเวณนั้นอบอุ่นขึ้น
ต้นจิกมุจลินท์

5. ต้นเกด ชื่อวิทยาศาสตร์ Manikara hexandra วงศ์ Sapotaceae ในพุทธประวัติกล่าวว่า
หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ 7 วันแล้วจึงได้ทรงย้ายไปประทับอยู่ใต้ต้นนิโครธ 7 วัน
แล้วเสด็จไปประทับใต้ต้นจิกอีก 7 วัน แล้วได้เสด็จไปทรงประทับต่อใต้ต้นเกดอีก 7 วัน
ต้นเกด

ุ6. ต้นหว้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Eugenia cumini วงศ์ Mytaceae ในพุทธประวัติกล่าวถึงต้นหว้าถึง 2 ตอน
ต้นหว้า
ตอนที่ 1 เมื่อครั้นพระเจ้าสุทโทธนะ พระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จไปทรงประกอบพิธีแรกนาขวัญ
 ได้นำพระราชบุตรซึ่งมีอายุ 8 ขวบ ไปด้วยและให้ประทับอยู่ใต้ต้นหว้าใหญ่ บรรดาพระพี่เลี้ยง นางนม
ต่างพากันไปดูพิธีแรกนาขวัญกันหมด พระกุมารจึงนั่งสมาธิ และบรรลุถึงปฐมฌาน
เป็นเหตุที่น่ามหัศจรรย์ยิ่งนัก แม้ว่าตะวันจะบ่ายคล้อยไปแล้ว ร่มเงาของไม้หว้าก็ยังบดบัง
ให้ความร่มเย็นแก่พระองค์โดยปรากฎเป็นปริมณฑลตรงอยู่ ประดุจเงาของตะวันตอนเที่ยงตรง
ตอนที่ 2 พระฤๅษีอุรุเวลกัสสปะได้ทูลนิมนต์ภัตตากิจ พระพุทธองค์ตรัสให้ไปก่อนแล้วจะตามไป
 จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์เสด็จเหาะไปนำผลหว้าใญ่ประจำทวีปป่าหิมพานต์
แล้วกลับไปสู่ที่โรงเพลิงก่อนที่กัสสปะชฎิลจะไปถึง

7. ต้นกุ่มบก ชื่อวิทยาศาสตร์ Crateva religiosa วงศ์ Capparaceae ตามพุทธประวัติกล่าวว่า
พระพุทธเจ้าเสด็จไปซักผ้าบังสุกุลที่ห่อศพนางบุณณทาสี ในอามกสุสาน (ป่าช้าผีดิบ) แล้วนำไปซัก
จากนั้นก็หาที่ที่จะตากผ้าบังสุกุลนี้ พฤกษเทวดาซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ต้นกุ่มบก ได้โน้มกิ่งต้นกุ่มบกให้ต่ำลงมา
เพื่อให้เป็นที่ตากจีวร

8. ต้นประดู่แขก ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia sissoo วงศ์ Leguminosae-Papilionaceae
ในพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้ากลับจากเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโทธนะพระราชบิดาแล้ว
 ได้พาพระอานนท์ พระราหุล พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารไปสู่กรุงราชคฤห์ ประทับยังสีสปาวัน
คือป่าไม้ประดู่แขก โดยทรงหยิบใบไม้ขึ้นมากำมือหนึ่ง แล้วถามภิกษุว่า ใบไม้ในกำมือของพระองค์
 กับใบไม้ทั้งหมดในป่าประดู่นี้ ใบไม้ที่ไหนมีมากกว่ากัน ภิกษุก็ได้ตอบว่า ใบไม้ในป่านี้ทั้งหมด
มีมากกว่าในกำมือของพระองค์
พระองค์จึงตรัสต่อไปว่า เรื่องที่เรารู้นะเท่ากับใบไม้ทั้งป่า แต่ที่นำสอนเธอเท่ากับใบไม้ในกำมือ
คือสอนแต่เรื่องทุกข์ กับเรื่องดับทุกข์เท่านั้น ส่วนเรื่องอื่นๆนั้น ปรากฎว่ามีคนสอนกันมากมาย
ฉะนั้นพระองค์จึงมุ่งไปสอนแต่เรื่องทุกข์ กับเรื่องดับทุกข์ ส่วนสูตรอื่น วิชาอื่นมีคนสอนแล้ว
อ่านเพิ่มเติมใน http://my-experimental-farm.blogspot.com/2014/03/blog-post_3111.html

9. ต้นสีเสียด ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia catechu วงศ์ Leguminosae-Mimosaceae ตามพุทธประวัติกล่าวว่า
เมื่อพระพุทธองค์สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ ได้ 8 พรรษา ได้เสด็จไปประทับ ณ "ภูสกภวัน"
บางเล่มเรียก "เภสกลาวัน" คือ ป่าไม้สีเสียด ใกล้สุงสุมารคีรีในภัคคฏฐี บางเล่มว่าในแคว้นภัคคะ

10. ต้นตะเคียน ชื่อวิทยาศาสตร์ Hopea odorata วงศ์ Dipterocarpaceae ตามพุทธประวัติกล่าวว่า
พระพุทธเจ้าจะทำยมกปาฏิหาริย์ ณ เมืองสาวัตถี ฝ่ายเดียรถีย์จะทำแข่งบ้าง โดยเตรียมมณฑลมีเสา
ซึ่งทำด้วยไม้ตะเคียน หลังคามุงด้วยดอกนิลอุบล
อีกตอนหนึ่งกล่าวเกี่ยวกับต้นตะเคียนว่า สิริคุตถ์หลอกให้พวกนิครนถ์ ผู้เป็นอาจารย์ของครหพินน์
ตกลงไปในหลุมอจจาระ พวกครหพินน์จึงคิดจะแก้แค้นพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นอาจารย์ของสิริคุตถ์
โดยทำหลุมไฟ ใช้ไม้ตะเคียนเป็นเชื้อเพลิง แล้วทำเป็นกระดานกลปิดไว้ที่ปากหลุม เมื่อพระพุทธองค์ทรงพระราชดำเนินไปที่ปากหลุมไฟนั้น ก็มีดอกบัวมารองรับพระบาท จึงมิได้รับอันตรายแต่อย่างใด

11. ต้นสะเดาอินเดีย ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica วงศ์ Meliaceae ตามพุทธประวัติว่า
ในพรรษาที่ 11 พระพุทธเจ้าได้จำพรรษาใต้ต้นปจิมมันทพฤกษ์ คือต้นสะเดา
ซึ่งเป็นมุขพิมานของนเฬรุยักษ์ อยู่ใกล้นครเวรัญชรา

12. ต้นมะม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera indica วงศ์ Anacardiaceae ตามพุทธประวัติกล่าวว่า
พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับอยู่ใน "สวนอัมพวาราม" ของหมอชีวกโกมารภัจจ์ คือป่ามะม่วง
อีกตอนหนึ่ง ในขณะที่พระพุทธเจ้าได้ไปพำนักอยู่กับกัสสปะชฎิลดาบส ซึ่งเป็นพระฤๅษี
พระฤๅษีได้กราบทูลนิมนต์ภัตตากิจ พระพุทธองค์ตรัสให้พระฤๅษีไปก่อน แล้วเสด็จเหาะไปเก็บผลมะม่วง
 ผลหว้า ฯลฯ และเสด็จไปสู่ดาวดึงส์เทวโลก นำเอาปาริฉัตรพฤกษชาติกลับมาด้วย
และแล้วเสด็จกลับไปสู่ที่โรงเพลิงก่อนฤๅษีตนนั้น

13. ต้นส้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantium วงศ์ Meliaceae ตามพุทธประวัติเมื่อคราวเสด็จไป
เก็บพืชพรรณที่ภูเขาหิมพานต์เพื่อแสดงให้ชฎิลดาบสเห็นเป็นการปราบพยศนั้น
 ซึ่งพืชพรรณที่เอากลับมานั้นนอกจากหว้า มะม่วง แล้วก็ยังมีส้มอีกด้วย

14. ต้นมะขามป้อม ชื่อวิทยาศาสตร์ Phylanthus emblica วงศ์ Euphorbbiaceae
ตามพุทธประวัติเมื่อคราวเสด็จไปเก็บพืชพรรณที่ภูเขาหิมพานต์เพื่อแสดงใ
ห้ชฎิลดาบสเห็นเป็นการปราบพยศนั้น ซึ่งพืชพรรณที่เอากลับมานั้นนอกจากหว้า มะม่วง ส้ม
แล้วก็ยังมีมะขามป้อมอีกด้วย
นอกจากนั้นในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ปุสสพุทธวงศ์
กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 21 พระนามว่า พระปุสสพุทธเจ้า ผู้ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง
ทรงสางความรกชัฏเป็นอันมาก ได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้มะขามป้อม หลังทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 7 วัน 

15. ต้นปาริฉัตร ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina variegata วงศ์ Leguminosae-Papilionaceae
ในพุทธประวัติ กล่าวว่าพุทธองค์เสด็จไปสู่ดาวดึงส์เทวโลก ได้นำเอาปาริฉัตรพฤกษชาติกลับมาด้วย

16. ต้นตาล ชื่อวิทยาศาสตร์ Borussus flabellifer วงศ์ Palmae ตามพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า
ในพรรษาที่ 2 หลังจากที่พระพุทธองค์สำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณแล้วได้ไปประทับ
ณ ลัฏฐีวนุทยานคือวนอุทยานที่เป็น "สวนตาลหนุ่ม" เพื่อโปรดให้พระเจ้าพิมพิสาร
 ผู้ซึ่งเป็นราชาแห่งแคว้นมคธ รวมทั้งบริวารทั้งหลายเข้าเฝ้า แล้วพระเจ้าพิมพิสารไ
ด้ทูลเชิญเสด็จเข้าประทับในเมือง และถวายพระกระยาหาร เสร็จแล้วได้ถวายเวฬุวนาราม
แด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก
นอกจากนี้ ตาลปัตร ที่พระสงฆ์ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ นั้น สมัยโบราณทำมาจากใบตาล
ซึ่งมาจากภาษาบาลีว่า ‘ตาลปตฺต’ ซึ่งแปลว่าใบตาลนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันพระสงฆ์บ้านเราไม่นิยม
ใช้ตาลปัตรที่ทำจากใบตาลแล้ว แต่พระสงฆ์ในประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนา
เช่น พม่า, ศรีลังกา, กัมพูชา และลาว ยังนิยมใช้ตาลปัตรที่ทำจากใบตาลอยู่
 และถือเป็นพัดสารพัดประโยชน์ใช้พัดวีโบกไล่แมลง รวมทั้งใช้บังแดดด้วย

17. ต้นมะตูม ชื่อวิทยาศาสตร์ Aegle marmelos วงศ์ Rutaceae ในพุทธประวัติ
ตอนที่พระพุทธเจ้าประทับ ณ นิโครธาราม เขตกบิลพัสดุ์ เช้าวันหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จ
เข้าสู่พระนครกบิลพัสดุ์ เพื่อบิณฑบาต เมื่อเสด็จกลับได้เสด็จเข้าไปยังป่ามหาวันเพื่อทรงพักผ่อนใ
นเวลากลางวัน และทรงประทับ ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม

18. ต้นไผ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Bambusa spp. วงศ์ Gramineae มีความสำคัญในพุทธประวัติมาก
เพราะเป็นพระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนาเรียก "เวฬุวนาราม" โดยพระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ถวาย
ต่อมาพระอรหันต์ (พระขีณาสพ) จำนวน 1,250 รูป ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ อารามแห่งนี้
โดยมิได้มีการนัดหมาย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสาม พระพุทธองค์ได้ถือเอาวันนี้เป็นวันประกาศ
หลักสามประการของพระพุทธศาสนาเรียกว่า "โอวาทปาฏิโมกข์" ชาวพุทธทั้งหลายจึงถือ
วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา นั่นคือ "วันมาฆะบูชา" สืบเนื่องกันมาตราบเท่าทุกวันนี้

19. ต้นฝ้าย ชื่อวิทยาศาสตร์ Gossypium barbadense วงศ์ Malvaceae ตามพุทธประวัติกล่าวว่า
เมื่อพระพุทธเจ้า ได้ทรงส่งสาวก ซึ่งสำเร็จเป็นพระอรหันต์ชุดแรกจำนวน 60 องค์
ไปโปรดเวไนยสัตว์แล้ว พระพุทธองค์ได้เสด็จอุรุเวลาประเทศ ครั้นถึงไร่ฝ้ายจึงหยุดยังรุกขมูล
(โคนต้นไม้) ฝ้ายต้นหนึ่ง

20. ต้นจันทน์แดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus santalinus วงศ์ Leguminosae-Papilionaceae
ในพุทธประวัติกล่าวว่า มีเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ได้ปุ่มไม้จันทน์แดง จึงนำมาทำเป็นบาตร
 แล้วนำไปแขวนไว้บนยอดเสา ซึ่งทำขึ้นจากไม้ไผ่ต่อๆกันจนสูงถึง 60 ศอก
และประกาศว่าผู้ใดสามารถเหาะมาเอาบาตรไปได้ จะเชื่อว่าผู้นั้นเป็นองค์อรหันต์
พระปิณโฑลภารทวาชเถระได้แสดงปาฏิหาริย์ไปนำเอาบาตรมาได้ ความทราบถึงพระพุทธเจ้า
ทรงตำหนิในการกระทำเช่นนั้นแล้วทำลายบาตรให้เป็นจุล แจกให้พระสงฆ์ทั้งหลายบดใช้เป็นโอสถ
ใส่จักษุ และทรงมีบัญญัติห้ามมิให้สาวกกระทำปาฏิหาริย์สืบไป

21. ต้นสมอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia chebula วงศ์ Combretaceae ในพุทธประวัติกล่าวว่า
ขณะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับเสวยวิมุตผลสุขสมบัติอยู่ใต้ต้นไม้ พระอินทร์ทรงเห็นว่า
พระพุทธองค์ควรเสวยพระกระยาหาร จึงนำผลสมอทิพย์มาถวาย เมื่อเสวยแล้วจะช่วยใ
ห้ลดอาการกระหายน้ำและช่วยระบายด้วย

22. ต้นมณฑา ชื่อวิทยาศาสตร์ Talauma candollei วงศ์ Magnoliaceae ในพุทธประวัติกล่าวว่า
พระมหากัสสปะเถระ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวาร 500 รูป จะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่กรุงกุสินารา
ได้หยุดพักอยู่ข้างทาง เห็นอาชีวกผู้หนึ่งถือดอกมณฑามาแต่เมืองกุสินารา
โดยเอาไม้เสียบดอกมณฑาเข้าเป็นคันกั้นต่างร่มเดินสวนทางมา พระมหากัสสปะเห็นดังนั้นก็สงสัยมาก
เพราะดอกมณฑาเป็นดอกไม้ที่มิได้มีในมนุษยโลก แต่ปรากฎเฉพาะตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จ
เข้าสู่ครรภ์พระมารดา หรือเมื่อประสูติออกสู่มหาภิเนษกรมณ์อภิสมโพธิ ตรัสเทศนาพระธรรมจักร
กระทำยมกปาฏิหาริย์ เสด็จจากเทวโลก กำหนดปลงพระชนมายุสังขาร จึงจะบันดาตกลงมาจากเทวโลก
แต่บัดนี้มีดอกมณฑาปรากฎ หรือพระพุทธเจ้าจะเข้าสู่ปรินิพพานเสียแล้ว จึงเข้าไปถามอาชีวกผู้นั้น
และได้ทราบว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จสู่ปรินิพพานมาแล้ว 7 วัน พระมหากัสสปะจึงพาพระภิกษุสงฆ์
รีบเดินทางไปสู่นครกุสินารา

23. ต้นหญ้ากุศะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmostachy bipinnata วงศ์ Gramineae ในพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า
พระสิทธัตถะได้รับหญ้ากุศะ 8 กำ จากโสตถิยะพราหมณ์ นำเอามาทรงลาดต่างบัลลังก์
ภายใต้ควงศรีมหาโพธิ พอรุ่งอรุณก็ได้สำเร็จพระโพธิญาณ และต่อมาก็ได้ทรงชนะมาร
บนบัลลังก์หญ้ากุศะนี้ หญ้านี้จึงเป็นหญ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง

24. ต้นหญ้าแพรก ชื่อวิทยาศาสตร์ Cynodon dactylon วงศ์ Gramineae ในพุทธประวัติกล่าวว่า
พระสิทธัตถะได้ทรงพระสุบิน ก่อนที่จะสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณคำรบสองว่า ต้นหญ้าแพรกต้นหนึ่ง
 ได้ขึ้นแต่พื้นพระนาภี และเจริญสูงขึ้นไปจนจดคัดนาดลนภากาศ ซึ่งทำนายว่าการที่หญ้าแพรก
งอกจากพระนาภี สูงไปจดอากาศนั้น เป็นบรรพนิมิตที่ได้ตรัสเทศนาพระอริยมรรคมีองค์ 8
(อัฏฐังคิกมรรค) แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งปวง

25. ต้นบัวหลวง ชื่อวิทยาศาสตร์ Nelumbo nucifera วงศ์ Nelumbonaceae ในพุทธประวัติ
 ตอนแรกกล่าวถึงสุบินนิมิตของพระนางสิริมหามายาว่า มีพระเศวตกุญชร
ใช้งวงจับดอกบัวหลวงสีขาวที่เพิ่งบานใหม่ๆ ส่งกลิ่นหอมตรลบ และทำประทักษิณสามรอบ
 แล้วจึงเข้าสู่พระครรภ์พระนางสิริมหามายาด้านข้าง ในขณะนั้นได้เกิดบุพนิมิตขึ้น 32 ประการ
ประการหนึ่งเกี่ยวกับดอกบัว คือมีดอกบัวปทุมชาติห้าชนิด เกิดดารดาษไปในน้ำและบนบกอย่างหนึ่ง
มีดอกบัวปทุมชาติ ผุดงอกขึ้นมาจากแผ่นหินแห่งละเจ็ดดอกอย่างหนึ่ง และต้นพฤกษาลดาชาติทั้งหลาย
 ก็บังเกิดดอกปทุมชาติออกตามลำต้นและกิ่งก้านอีกอย่างหนึ่ง
ตอนประสูติ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่สวนลุมพินี ทรงบ่ายพระพักตร์ไปทางทิศอุดร
และย่างพระบาทไป 7 ก้าว มีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ 7 ดอก ต่อมาเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ
เจริญพระชนมายุได้ 7 พรรษา พระราชบิดาโปรดให้ขุดสระโบกขรณี 3 สระ สำหรับพระราชโอรส
ทรงลงเล่นน้ำ โดยปลูกอุบลบัวขาบสระหนึ่ง ปลูกปทุมบัวหลวงสระหนึ่ง
 และปลูกบุณฑริกบัวขาวอีกสระหนึ่ง
อีกตอนกล่าวว่า ครหพินน์เจ็บใจที่สิริคุตถ์หลอกเดียรถีย์อาจารย์ ให้ตกลงในหลุมอุจจาระ
จึงคิดแก้แค้นแก่พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นอาจารย์สิริคุตถ์เคารพเลื่อมใสมาก
โดยล่อให้ตกลงในหลุมที่ก่อไฟด้วยไม้ตะเคียน เมื่อพระพุทธองค์ย่างพระบาทลงในหลุมเพลิง
ก็พลันมีดอกบัวผุดขึ้นและรองรับพระบาทไว้มิให้เกิดอันตรายใดๆ ทั้งสิ้น
เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงพิจารณาถึงธรรมะที่ได้ทรงตรัสรู้ว่าเป็นธรรมะอันล้ำลึกยากที่ชนผู้ยินดี
ในกามคุณจะรู้ตามได้ แต่ผู้ที่มีกิเลสเบาบางอันอาจรู้ตามก็มี จึงเกิดอุปมาเวไนยสัตว์เหมือน "ดอกบัว"
ว่า เวไนยสัตว์ย่อมแบ่งออกเป็นสี่เหล่า คือ

  • เหล่า 1 อุคคติตัญญูบุคคล คือผู้ที่มีกิเลสน้อย เบาบาง มีสติปัญญาแก่กล้า 
  • เปรียบเสมือนดอกปทุมชาติที่โผล่พ้นเหนือพื้นน้ำขึ้นมา พอสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์ก็จะบานทันที
  • เหล่า 1 วิปัจจิตัญญบุคคล ผู้ที่มีกิเลสค่อนข้างน้อย มีอินทรีย์ปานกลางถ้าได้ทั้งธรรมคำสั่งสอน
  • อย่างละเอียด ก็สามารถรู้แจ้งเห็นธรรมวิเศษได้ เปรียบเสมือนดอกบัวที่เจริญเติบโตขึ้นมา
  •  พอดีกับผิวน้ำจักบานในวันรุ่งขึ้น
  • เหล่า1 เนยยบุคคล ผู้ที่มีกิเลสยังไม่เบาบาง ต้องหมั่นศึกษาพากเพียรเล่าเรียน
  •  และคบกัลยาณมิตร จึงสามารถรู้ธรรมได้ เปรียบเสมือนดอกบัวที่ยังจมอยู่ในน้ำ 
  • คอยเวลาที่จะโผล่ขึ้นมาจากน้ำ และจะบานในวันต่อๆ ไป
  • เหล่า 1 ปทปรมบุคคล ผู้ที่มีกิเลสหนา ปัญญาทึบหยาบ หาอุปนิสัยไม่ได้เลย 
  • ไม่สามารถจะบรรลุธรรมวิเศษได้ เปรียบเสมือนดอกบัวที่เติบโตและจมอยู่ใต้น้ำ 
  • ไม่สามารถที่จะโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำได้ จะอยู่ได้เพียงใต้น้ำและเป็นอาหารของเต่า ปู และปลา
จะเห็นว่า บัวเป็นดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาหลายๆตอน
 ชาวพุทธนิยมใช้ดอกบัวบูชาพระรัตนตรัย มาตั้งแต่โบราณกาล 
ประเทศไทยใช้บัวเป็นดอกไม้ประจำพระพุทธศาสนา

26. ต้นบุนนาค ชื่อวิทยาศาสตร์ Mesua ferrea วงศ์ Guttiferae ในพระไตรปิฎก 

หัวข้อ ‘คิริปุนนาคิยเถราปทาน’ ได้กล่าวถึง ผลแห่งการถวาย ‘ดอกบุนนาค’ 
บูชาของพระคิริปุนนาคิยเถระ ไว้ว่า
“ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะ ประทับอยู่ที่ภูเขาจิตตกูฏ 

เราได้ถือเอาดอกบุนนาคเข้ามาบูชาพระสยัมภูในกัลปที่ 94 แต่กัลปนี้เราได้บูชาพระสัมพุทธเจ้า 
ด้วยการบูชานั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว 
พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้”
การเป็นมงคล คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นบุนนาคไว้ประจำบ้านจะทำ

ให้เป็นผู้มีความประเสริฐและมีบุญ เพราะบุนนาคคือผู้มีบุญผู้ประเสริฐ
 และยังเชื่ออีกว่ายังสามารถป้องกันภัยอันตรายจากภายนอกได้อีกด้วย

27. ต้นกากะทิง ต้นกระทิง หรือต้นนาคะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Calophylum inophyllum วงศ์ Guttiferae 

ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 กล่าวไว้ว่า
พระพุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าองค์ที่ 6 พระนามว่า พระมังคลพุทธเจ้า

 ผู้ทรงชูดวงไฟคือพระธรรมให้สว่างไสว ซึ่งทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 8 เดือนเต็ม, พระพุทธเจ้าองค์ที่ 7 
พระนามว่า พระสุมนพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนโดยธรรมทั้งปวง
 ซึ่งทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 10 เดือนเต็ม, พระพุทธเจ้าองค์ที่ 8 พระนามว่า พระเรวตพุทธเจ้า 
ผู้ทรงยศ มีพระปัญญามาก ซึ่งทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 7 เดือนเต็ม และพระพุทธเจ้าองค์ที่ 9 
พระนามว่า พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้ทรงมีพระทัยมั่นคงสงบระงับไม่มีใครเสมอเหมือน
 ซึ่งทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 7 วัน ทั้งสี่พระองค์จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้กากะทิง เช่นเดียวกัน

28. ต้นอ้อยช้างใหญ่ ต้นมหาโสณกะ, ต้นกุ๊ก หรือต้นกอกกัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Lannea coromandelica 

วงศ์ Anacardiaceae ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้า 3 พระองค์ 
คือ พระพุทธเจ้าองค์ที่ 11 พระนามว่า พระปทุมพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 8 เดือนเต็ม, 
พระพุทธเจ้าองค์ที่ 12 พระนามว่า พระนารทพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 7 วัน และ 
พระพุทธเจ้าองค์ที่ 24 พระนามว่า พระเวสสภูพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 6 เดือนเต็ม 
ทั้งสามพระองค์จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้อ้อยช้างใหญ่ เช่นเดียวกัน

29. ต้นโสกน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Saraca indica หรือ Saraca asoca วงศ์ Leguminosae-Caesalpinioideae 

ในการแปลพระพุทธประวัติจากภาษาอินเดียโบราณบางครั้งก็จะมีการแปลชื่อกิ่ง
ของต้นไม้ที่พระนางสิริมหามายาเหนี่ยวตอนที่พระพุทธเจ้าประสูติว่าเป็นต้น Ashoka Tree 
ซึ่งคือต้นโสกน้ำนั่นเอง แต่นักวิชาการไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันคิดว่าน่าจะเป็นต้นสาละอินเดียมากกว่า 
แต่ในยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้แปลว่าต้นไม้ดังกล่าวเป็นต้นโสกน้ำ
 (ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับชื่อของพระองค์เองที่มีคำว่า "อโศก" อยู่หรือไม่) 
จึงทำให้มีการปลูกต้นโสกน้ำตามวัดในประเทศอินเดียสืบมา
นอกจากนั้นในศาสนาฮินดูยังเชื่อว่าต้นโสกน้ำเป็นต้นไม้ของกามเทพ(Kamadeva) 

และในวรรณกรรมอิงพุทธประวัติเรื่อง “กามนิต” โดย เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
 นั้น ต้นอโศกได้เข้ามาเกี่ยวพันกับความรักของกามนิต เพราะบริเวณที่กามนิตได้พบกับวาสิฏฐีทุกค่ำคืน
 ก็คือลานอโศกนั่นเอง ซึ่งต้นอโศกในภาษาอินเดียจะไม่ได้หมายถึงต้นอโศกอินเดีย 
(ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyalthia longifolia วงศ์ Annonaceae) ตามที่มีคนเข้าใจผิด แต่จะหมายถึงต้นโสกน้ำ

อ่านเพิ่มเติมใน http://my-experimental-farm.blogspot.com/2014/05/blog-post_3.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น