วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

วิธีขึ้นค้าง บวบ เป็นอุโมงค์เตรียมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

     คุณเอก แห่งสวนกลับบ้านเรารักรออยู่ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี  ได้พลิกฟื้นพื้นดิน ที่ อ.เลาขวัญ ที่มีคนกล่าวถึงว่า เป็น อิสานตะวันตก  ของประเทศไทย เป็นพื้นที่แห้งแล้ง ดินทราย ไม่เหมาะแก่การทำการเกษตรแต่อย่างใด มีเกษตรกร ปลูกพืชได้ 2 ชนิดคือ มันสำปะหลัง กับอ้อย  ปัจจุบันนี้ คุณเอก สวน กลับบ้านเรารักรออยู่ ได้พลิกพื้นดินให้เป็นแหล่งปลูกพืชผัก แบบอินทรีย์ปลอดสารเคมี100% ซึ่งได้รับความมือจาก ทีมนวัตกรรมการเกษตร  ทีมตรวจสอบคุณภาพ และทีมการตลาด เขามาช่วยกัน ดังในภาพความเจริญงอกงามของ บวบ ปลูกแบบอินทรีย์ปลอดสารเคมี  100% โดยการปรับปรุงดิน และใช้ อะมิโนออร์แกนิกผสมน้ำรด ให้ความงอกงามดีกว่าการใช้เคมี และไม่มีแมลง หรือโรคพืชมารบกวน  ทั้งนี้ทคุณเอก ยังทำค้างบวบ แบบอุโมงค์  สำหรับเป็นเหล่งท่องเที่ยวเชิงเการกษตร
ดูข้อมูลแหล่งปลูกโดยตรง



วิธีการเอาบวบขึ้นค้าง แบบอุโมงค์

ค้างบวบแบบอุโมงค์ ทำด้วยไม้แบบเรียบง่ายและประหยัด

ความสวยงามของค้าง บวบ
บวบเหลี่ยม
บวบเหลี่ยม ชื่อสามัญ Angled loofah
บวบเหลี่ยม ชื่อวิทยาศาสตร์ Luffa acutangula L.) Roxb. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)[๑],[๒]สรรพคุณของบวบเหลี่ยม
๑.ผลเป็นยาเย็น มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ผล) [๒],[๙]
๒.ดอกมีรสชุ่ม ขมเล็กน้อย และเย็นจัด มีสรรพคุณช่วยดับร้อน คลายร้อนในร่างกายได้ดี ดอก) [๑]
๓.ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดี เถา)[๑]
๔.ผล เถา และทั้งต้นของบวบเหลี่ยม สามารถใช้เข้าในตำรับยาแก้ลม บำรุงหัวใจได้อีกด้วย ทั้งต้น)[๙]
๕.หากเหงื่อออกมาก ให้ใช้ใบสดผสมกับเมนทอล นำมาตำแล้วทาหรือใช้พอก ใบ)[๑]
๖.ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทรายใช้กินพอประมาณ น้ำจากเถา)[๑] หรือหากมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว ให้ใช้รากต้มใส่ไข่เป็ด ๒ ฟอง แล้วนำมากิน ราก)[๑]
๗.น้ำคั้นที่ได้จากใบสด ใช้เป็นยาหยอดตาเด็ก เพื่อรักษาเยื่อตาอักเสบ ใบ)[๑]
๘.ใช้รักษาเยื่อจมูกอักเสบและเสื่อมสมรรถภาพ รักษาจมูกอักเสบจนกลายเป็นโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง ด้วยการใช้รากนำมาต้มกับน้ำกิน หรือจะใช้ดอกสดร่วมกับฮั่วเถ่าเช่าสด นำไปตำใช้เป็นยาพอกรักษาโพรงจมูกอักเสบก็ได้ ส่วนเถาก็มีสรรพคุณช่วยรักษาโพรงจมูกอักเสบได้เช่นกัน เถา,ราก,ดอก)[๑]
๙.ใช้รักษาจมูกมีหนองและมีกลิ่นเหม็น หรืออาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย ให้ใช้เถาบริเวณใกล้กับรากนำไปเผาให้เป็นถ่าน แล้วบดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากิน เถา)[๑]
๑๐.หากเป็นคางทูม ให้ใช้ใยผล รังบวบ) ที่เผาเป็นถ่านแล้ว ผสมกับน้ำใช้ทาบริเวณที่ปวด หรือจะใช้ผลนำไปเผาให้เป็นถ่าน แล้วบดให้เป็นผงผสมกับน้ำใช้ทาบริเวณที่ปวด ผล,ใยผล)[๑]
๑๑. เมล็ดมีรสหวานมัน ใช้รักษาอาการปวดเสียวฟัน โดยให้ใช้ผลที่แก่แล้วนำไปเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดเป็นผง ใช้ทาบริเวณที่ปวด ส่วนเถาก็มีสรรพคุณแก้อาการปวดเสียวฟันเช่นกัน เถา,เมล็ด)[๑]
๑๒.ผลเป็นยาเย็น สรรพคุณเป็นยาลดไข้ ผล)[๒]
๑๓.ผลและเมล็ดมีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนใน ส่วนน้ำจากเถาใช้ผสมกับน้ำตาลทรายกินพอประมาณก็เป็นยาบรรเทาอาการร้อนในได้เช่นกัน (น้ำจากเถา,ผล,เมล็ด)[๑],[๒],[๙]
๑๔.น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทรายใช้กินพอประมาณเป็นยาแก้หวัดได้ น้ำจากเถา)[๑]
๑๕.ดอกมีรสชุ่ม เย็ดจัด และขมเล็กน้อย ใช้รักษาอาการไอ อาการเจ็บคอ และหอบ ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ ๖-๑๐ กรัม ผสมกับน้ำผึ้ง แล้วต้มจิบกินเป็นยา หรือจะใช้น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทรายกินพอประมาณก็เป็นยาแก้ไอ แก้อาการเจ็บคอได้เช่นกัน (น้ำจากเถา,ดอก)[๑] หรือหากมีอาการเจ็บคอ จะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะนำรากมาแช่กับน้ำในภาชนะกระเบื้องแล้วเทเอาแต่น้ำกินก็ได้ ราก)[๑],[๙] หรือหากมีการไอ จะใช้เถาเอาไปต้มกับน้ำหรือจะใช้น้ำคั้นจากเถาสดนำมากินเป็นยาแก้ไอก็ได้ (แต่เป็นการทดลองกับหนู) เถา)[๑]
๑๖. ขั้วผลนำไปเผาไฟให้เป็นเถ้า บดให้เป็นผงละเอียดใช้เป่าคอเป็นยารักษาอาการเจ็บคอ และช่วยรักษาเด็กที่ออกหัด ช่วยทำให้ออกหัดได้เร็วขึ้น ขั้วผล)[๑]
๑๗.ผลมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ทำให้ชุipecacuanha ได้ดี แต่เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เมล็ด)[๑]
๒๓.ผลมีรสชุ่มและเย็น ใช้รักษาโรคบิดถ่ายเป็นเลือด แก้อาการปวดท้องเนื่องจากกินเหล้ามาก โดยให้ใช้ผลแห้งประมาณ ๑ ผล นำไปเผาให้เป็นถ่าน บดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากินครั้งละประมาณ ๖ กรัม ผล)[๑]
๒๔.รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระบาย ส่วนผลก็มีสรรพคุณเป็นยาระบายเช่นกัน ราก,ผล)[๒],[๙] รากและเมล็ดบวบเหลี่ยมที่มีรสขม มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย ราก,เมล็ด)[๑],[๙]
๒๕.เถาใช้เป็นยาขับพยาธิ เถา)[๑] ส่วนเมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม โดยนำเมล็ดแก่มาเคี้ยวกินตอนท้องว่าง โดยเมล็ดจะมีรสหวานมัน ถ้าเป็นเด็กให้กินครั้งละประมาณ ๓๐ม็ด หากเป็นผู้ใหญ่ให้ใช้ ๔๐-๕๐ติดต่อกัน ๒วัน หรือจะนำมาเมล็ดบดให้ละเอียดใส่แคปซูลกินวันละครั้ง เมล็ด)[๑],[๒],[๑๐]
๒๖.ผลและเมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ผลอ่อนนำไปต้มกับน้ำ โดยใส่น้ำพอท่วม แล้วต้มจนเดือด ใช้น้ำที่ได้นำมาดื่มครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๒ ครั้ง เช้าและเย็น) หรือจะใช้ดอกสดเป็นยาขับปัสสาวะก็ได้ เข้าใจว่าใช้ดอกแห้งประมาณ ๖-๑๐ กรัม นำไปต้มกับน้ำกิน ส่วนใบให้ใช้ใบสด ๑ กำมือ นำมาต้มกับน้ำ ใส่น้ำพอท่วมแล้วต้มจนเดือด ใช้น้ำที่ได้ดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๒ ครั้ง เช้าและเย็น ถ้าเป็นใบแห้งให้ใช้ ๕ กรัม นำมาชงกับน้ำร้อน ๑ แก้ว ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น (ใบ,ดอก,ผล,เมล็ด)[๑],[๒],[๙]
๒๗.เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาขับนิ่ว เมล็ด)[๒]
๒๘.ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ใบนำมาตำพอกหรือจะบดให้เป็นผงใช้ผสมเป็นยาทาก็ได้ หรือจะใช้ดอกสดผสมกับฮั่วเถ่าเช่าสดนำไปตำพอก หรือจะใช้ใยผลหรือรังบวบนำไปเผาไฟให้เป็นเถ้า แล้วนำไปผสมกับปูนขาวที่เก็บไว้นาน ๆ และผสมกับหย่งอึ้งบดเป็นผง แล้วนำไปต้มกับดีหมู ใส่ไข่ขาวผสมน้ำมันหอม นำมาใช้ทาบริเวณที่เป็น แต่หากเป็นโรคริดสีดวงทวารที่เกิดจากการดื่มเหล้ามาก ๆ ก็ให้ใช้ใยผล รังบวบ) ที่เผาเป็นถ่านแล้ว นำไปบดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากินครั้งละ ๖ กรัม ใบ,ดอก,ใยผล)[๑]
๒๙.หากเลือดน้อย ประจำเดือนของสตรีมาผิดปกติ ให้ใช้ผลนำไปเผาให้เป็นถ่าน ผสมกับเหล้ากินหลังอาหารตอนที่สบายใจ ส่วนใบและเถาก็มีสรรพคุณช่วยแก้ประจำเดือนที่ผิดปกติของสตรีเช่นกัน เถา,ใบ,ผล)[๑],[๒]
๓๐.ใบใช้เป็นยารักษาสตรีที่ตกเลือด ด้วยการนำใบไปคั่วให้เป็นถ่าน แล้วบดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากินครั้งละประมาณ ๖-๑๕ กรัม ใบ)[๑]
๓๑.ช่วยบำรุงม้าม เถา)[๑]
๓๒.ใบนำมาตำใช้เป็นยาพอกทาถอนพิษในคนไข้ม้ามโต ใบ)[๒]
๓๓.ช่วยแก้อาการบวมน้ำ ด้วยการใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทรายกินพอประมาณก็ได้ (ราก,น้ำจากเถา)[๑],[๒],[๙]
๓๔.ใบสดนำมาตำพอกแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย แก้พิษคัน ใบ)[๙]
๓๕.ช่วยรักษาบาดแผลเรื้อรัง แผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้ใบนำมาต้มเอาแต่น้ำใช้ชะล้าง หรือจะตำพอก หรือบดให้เป็นผงละเอียดผสมเป็นยาทาก็ได้ ใบ)[๑]
๓๖.หากเป็นแผลมีหนองและมีเนื้อนูน ก็ให้ใช้ผลสด นำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับผงเบญกานี Gall จากต้น Rhus chinensis Mill. แล้วนำมาใช้ทา ผล)[๑]
๓๗.น้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดบวบเหลี่ยมสามารถนำมาใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้ บ้างว่าใช้แก้โรคผิวหนังได้บางชนิด และถ้าบริสุทธิ์พอก็ใช้กินได้ (น้ำมันจากเมล็ด)[๑],[๒],[๑๐]
๓๘.หากผิวหนังเป็นผดผื่นคันให้ใช้ใบสดผสมกับเมนทอล นำมาตำแล้วพอกหรือใช้ทาบริเวณที่เป็น ใบ)[๑]
๓๙.ใช้รักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้ใบนำมาต้มเอาน้ำใช้ชะล้าง หรือจะตำพอก หรือจะบดให้เป็นผงละเอียดผสมเป็นยาทาก็ได้ ใบ)[๑]
๔๐.หากเป็นฝีบวมแดงและมีหนอง รักษาฝีไม่มีหัว ให้ใช้ดอกสดผสมกับฮั่วเถ่าเช่าสด นำไปตำใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น ดอก)[๑]
๔๑.ช่วยรักษาแขนขาเป็นเหน็บชา เถา)[๑]
๔๒.หากมีอาการปวดเอวเรื้อรัง ให้นำเมล็ดมาคั่วจนเหลือง แล้วบดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากิน และให้นำกากมาพอกบริเวณที่มีอาการปวด เมล็ด)[๑]
๔๓.ผลมีสรรพคุณช่วยขับน้ำนมของสตรีที่มีน้ำนมน้อยหลังการคลอดบุตร หรือจะใช้ใยผล รังบวบ) ที่เผาเป็นถ่านแล้ว นำมาบดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากินก็ได้ แล้วห่มผ้าห่มให้เหงื่อออกด้วย ผล,ใยผล)[๑]

หมายเหตุ : จากหนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ของ ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ได้ระบุไว้ว่า บวบเหลี่ยมมีสรรพคุณเหมือนกับบวบกลม บวบหอม) ผู้เขียนจึงได้นำสรรพคุณของบวบกลมในหนังสือดังกล่าวมาเขียนไว้ตาม [๑] แต่อย่างไรก็ตามบวบที่นิยมนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้น จะนิยมใช้บวบกลมมากกว่า [๑]

ข้อมูลทางเภสัชวิทาของบวบเหลี่ยม

• ในเมล็ดมีสารไขมันอยู่ประมาณ ๓๗.๕% มีโปรตีนประมาณ ๓๓.๔% และประกอบไปด้วยกรดอะมิโน และเมล็ดบวบที่มีรสขมจะมีสาร Cucurbitacin B๐.๑๒%, น้ำมันประมาณ ๑๘.๔%, กรดไขมันไม่อิ่มตัวประมาณ ๘๐.๓%, กรดไขมันอิ่มตัวประมาณ ๑๙.๓๔% unsaponified matters ๑.๕% กรดไขมันได้แก่ Oleic acid, Palmitic acid, Stearic acid, Linoleic acid, และมี Lignoceric acid อีกเล็กน้อย [๑]
• เมล็ดบวบเหลี่ยมที่มีรสขมจะมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรงเนื่องจากมีสาร Elaterin ที่ทำให้ถ่าย ส่วนรากก็มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายเช่นกัSaponins) มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจกบ คล้ายกับดิยิลลิส Digitalis) ซึ่งสามารถย่อยเม็ดเลือดแดงสุนัขและเป็นพิษต่อปลาเป็นอย่างมาก และสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากเมล็ดบวบ




ขอบคุณข้อมูลจาก เวป สุขใจ ดอทคอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น