เมื่อผ่านกระบวนการผลิต เบ็ดเสร็จจะได้สบู่เหลว ประมาณ 3 กิโลกรัม ต้นทุนทั้งหมด ขึ้นอยู่กับปริมาณสารเคมีที่ซื้อแต่ละครั้ง
เช่น หัวสบู่โพแทสเซียม เฉลี่ยราคากิโลกรัมละ 60 บาท เอ.บี.ซี. เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130 บาท K.D. กิโลกรัมละ 130 บาท กลีเซอรีน กิโลกรัมละ 50 บาท วิตามินบี 5 กิโลกรัมละ 450 บาท น้ำหอม ออนซ์ละ 60-70 บาท ซึ่งคำนวณคร่าวๆ ต้นทุนสบู่เหลว 1 กิโลกรัม จะประมาณ 150 บาท”
“สบู่” จัดอยู่ในหมวดของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน เพราะทุกคนต้องอาบน้ำ
เพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย ยิ่งปัจจุบันมีสบู่ให้เลือกหลากหลายการใช้งาน
อาทิ สบู่ก้อน สบู่สมุนไพร สบู่แฟนซี สบู่ยา รวมถึงสบู่เหลว
ซึ่งคนส่วนใหญ่นิยมใช้สบู่เหลว เพราะมีคุณสมบัติการใช้งานดีกว่าสบู่ก้อน
ตรงที่มีความระคายเคืองต่อผิวน้อยกว่า สีสันสดใส ใช้ง่าย ฉะนั้น
ถ้าสนใจลองทำใช้เอง หรือทำขาย วันนี้ เส้นทางเศรษฐี มีข้อมูล ขั้นตอนการทำ
และแนะนำแหล่งจำหน่ายวัสดุ-อุปกรณ์ มาบอก โดย อาจารย์ลดารัตน์ พงศ์พินิจกุล หรือ
อาจารย์น้อย สอนวิชาชีพ ภายใต้กลุ่มงานส่งเสริมอาชีพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์
กองส่งเสริมอาชีพ สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร
แจงต้นทุนละเอียด
เผยส่วนผสมที่ใช้
ก่อน อื่นต้องบอกว่าสูตร “สบู่เหลวอาบน้ำ” ที่นำมาเผยแพร่
มั่นใจได้ว่าใช้แล้วไม่ระคายเคือง สามารถบำรุงผิว ให้ความชุ่มชื้น
เพราะเจ้าของสูตร บอกว่า ได้ผ่านการใช้งาน รวมถึงสอนลูกศิษย์มาแล้วหลายรุ่น
สำหรับส่วนผสมผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
อาจารย์น้อย บอกมีดังนี้ หัวสบู่โพแทสเซียม (TEXAN-SL) หรือหัวสบู่ธรรมชาติ ลักษณะเป็นน้ำใส ข้นเล็กน้อย เอ.บี.ซี. (A.B.C.) หรือสารทำความสะอาด ลักษณะเป็นน้ำใสๆ K.D. สารทำให้ข้น เป็นน้ำใส ข้นเล็กน้อย กลีเซอรีน ลักษณะเป็นน้ำใส
ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง วิตามินบี 5 คือ มอยซ์เจอไรเซอร์ที่ทำให้ผิวชุ่มชื้นและนุ่มนวล ลักษณะเป็นน้ำใส
ปนเหลืองเล็กน้อย น้ำสะอาด น้ำหอม สามารถเลือกกลิ่นได้ตามใจชอบ สารกันบูด (UNIGERM) และ สารสกัดต่างๆ อาทิ น้ำผึ้ง ใบบัวบก ทับทิม น้ำมันมะพร้าว
น้ำมันงา กาวเครือ ฯลฯ
ใน
ส่วนของปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในสูตรนี้ อาจารย์น้อย ระบุว่า หัวสบู่โพแทสเซียม (TEXAN-SL) จะใส่ 1 กิโลกรัม เอ.บี.ซี. (A.B.C.) ใส่ 350 กรัม K.D. 200 กรัม กลีเซอรีน 200 กรัม วิตามินบี 5 200 กรัม น้ำสะอาด 1,000 กรัม น้ำหอม 2 ออนซ์ สารกันบูด 2 ออนซ์ สารสกัด
ยกตัวอย่าง น้ำผึ้งใส่ประมาณ 100 กรัม ส่วนผสมทั้งหมดหาซื้อได้ตามร้านขายเคมีภัณฑ์
โดยเฉพาะร้านวันรัต ส่วนอายุการใช้งานของแต่ละส่วนผสมนาน 3-5 ปี แต่หากผลิตเป็นสบู่เหลวแล้ว จะเก็บใช้งานนาน 1 ปี
อัตราสารเคมีที่ บอกไป
เมื่อผ่านกระบวนการผลิต เบ็ดเสร็จจะได้สบู่เหลว ประมาณ 3 กิโลกรัม ต้นทุนทั้งหมด ขึ้นอยู่กับปริมาณสารเคมีที่ซื้อแต่ละครั้ง
เช่น หัวสบู่โพแทสเซียม เฉลี่ยราคากิโลกรัมละ 60 บาท เอ.บี.ซี. เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130 บาท K.D. กิโลกรัมละ 130 บาท กลีเซอรีน กิโลกรัมละ 50 บาท วิตามินบี 5 กิโลกรัมละ 450 บาท น้ำหอม ออนซ์ละ 60-70 บาท ซึ่งคำนวณคร่าวๆ ต้นทุนสบู่เหลว 1 กิโลกรัม จะประมาณ 150 บาท
กำไรเกินครึ่ง
ใช้ดี น่าลองทำขาย
ทราบ ต้นทุนไปพอสมควร
ถามถึงการนำไปตั้งราคาขาย อาจารย์น้อย ระบุว่า เท่าที่เคยแนะนำลูกศิษย์ มี 2 รูปแบบ คือ ขายปลีก และขายส่ง ซึ่งขายปลีกควรจะเพิ่มมูลค่าสินค้า ด้วยบรรจุภัณฑ์
เป็นจำพวกพลาสติครูปทรงสวยงาม เนื้อดี หรือจะใช้ขวดแก้วก็ได้
เพราะนอกจากจะช่วยเก็บรักษาประสิทธิภาพทางยา เช่น กลิ่น สี สรรพคุณ
ได้อย่างครบถ้วน ยังเป็นการเพิ่มมูลค่า แต่ข้อเสียคือ น้ำหนักมากพกพาไม่สะดวก
นอกจากนั้น สร้างความน่าเชื่อถือ ด้วยการทำฉลากบอกสรรพคุณ วันเดือนปีที่ผลิต
สถานที่ติดต่อและเบอร์โทรศัพท์ให้ชัดเจน ใส่ใจกลิ่นหอมชวนให้น่าใช้งาน
เลือกใช้กลิ่นที่นิยม เช่น กรีนที ออร์คิด
ส่วนประเด็นการตั้งราคา
กำหนดให้สอดคล้องกับค่าวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าสถานที่จำหน่าย
โดยทั่วไปตามท้องตลาดมักบวกกำไรเพิ่มอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น แบ่งบรรจุขวด ขนาด 250 มิลลิลิตร จำหน่ายในราคา 120 บาท เป็นต้น
ถามถึงเทคนิคการทำผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
ได้ความว่า ส่วนผสมทั้งหมด ต้องคนให้ละเอียด จนเป็นเนื้อเดียวกัน
เพราะไม่เช่นนั้นส่วนผสมจะแยกชั้น สารเคมีไม่เข้ากัน ใช้ไม่ได้
ทว่า ทุกวันนี้ ตามท้องตลาด
มีผลิตภัณฑ์จำพวกสบู่วางจำหน่ายกันมาก เท่ากับการแข่งขันสูง ฐานะผู้ขายหน้าใหม่
จะใช้กลยุทธ์ใดเรียกลูกค้า อาจารย์น้อย แสดงความคิดเห็นว่า
ปัจจุบันรูปแบบการขายมีมากมาย ทั้งขายส่ง ขายปลีก ขายตรง ฝากขาย ซึ่งมีข้อดี
ข้อเสีย แตกต่างกันไป อยากให้ผู้ประกอบการเลือกใช้วิธีที่ถนัด
ทว่าเบื้องต้นอยากให้ทดลองทำใช้เองก่อน จากนั้นแจกจ่ายให้คนใกล้ตัวลองใช้ ทั้งนี้
เพื่อดูผลตอบรับ จากนั้นค่อยวางแผนจำหน่าข้อมูลที่ระบุ มาข้างต้นคงพอใช้เป็แนวทางปฏิบัติได้บ้าง แต่ก่อนไป อาจารย์น้อย ทิ้งท้ายไว้ ด้วยสูตร และขั้นตอนการทำ
หากใครสงสัย หรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่ออาจารย์น้อย ได้ที่
โทรศัพท์ (089) 018-1960, (089) 091-9039
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น