เขียนโดย Greenclinic |
คอลลาเจน (Collagen)
คอลลาเจน เป็นสารประเภทโปรตีน รวมทั้งเจลลาตินก็เป็นคอลลาเจนด้วย คอลลาเจน ประกอบด้วยสายของกรดอะมิโน 3 สาย แต่กรดอะมิโนที่นำมาใช้สร้างคอลลาเจนจะต่างจากกรดอะมิโนทั่วไป เพราะต้องอาศัยวิตมินซี (Vitamin C) เป็นตัวช่วย เช่น ไฮดรอกซีโพรลีน (Hydroxyproline) ซึ่งสร้างมาจากกรดอะมิโนโพรลีน (Proline)
คอลลาเจน พบในสัตว์ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เส้นเอ็น ผิวหนัง ข้อต่อ และกระดูกอ่อน โดยคอลลาเจน มี 28 ชนิด แต่ชนิดที่สำคัญในการสร้างเส้นใยและพบมากมี 5 ชนิด คือ
ร่างกายของเราสามารถสร้างคอลลาเจนได้เอง โดยอาศัยโปรตีนจากอาหารเป็นแหล่งของวัตถุดิบ หากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอก็จะสร้างคอลลาเจน ได้น้อยลง
มักพบว่าผู้ที่ทานมังสวิรัติติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีผิวที่เหี่ยวย่นกว่าผู้ที่รับประทานอาหารครบถ้วน ทั้งนี้ เพราะการทานมังสวิรัติมักจะขาดกรดอะมิโนเมทไธโอนีน
นอกจากนั้น ยังพบว่าอายุยังมีผลต่อการสร้างคอลลาเจน เมื่ออายุมากขึ้นการสร้างคอลลาเจนก็จะลดลง โดยจะค่อยๆ ลดการสร้างคอลลาเจน ในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย ตั้งแต่อายุ 25 ปี ร่างกายจะลดการสร้างคอลลาเจนลง 1.5% และเมื่ออายุ 40 ปี กระบวนการสร้างคอลลาเจนจะช้าลง 30%
ผลจากการสร้างคอลลาเจนได้น้อยลง ทั้งจากสาเหตุที่ร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ และจากการที่อายุมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดคือ ผิวหนังเหี่ยวย่น เพราะคอลลาเจนทำให้ผิวเต่งตึง และยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำลายคอลลาเจน เช่น แสงแดด แสงจากหลอดไฟ มลภาวะ อนุมูลอิสระ และความเครียด พบว่าคนที่ตากแดดมาก และอยู่ท่ามกลางมลภาวะผิวหนังจะเหี่ยวย่นง่ายกว่าคนที่ตากแดดน้อย เพราะรังสียูวี (UV) ในแสงแดดจะทำลายคอลลาเจน ในแสงแดงจะมีรังสียูวีบี (UVB) เป็นตัวทำให้ผิวไหม้ ส่วนในแสงจากหลอดไฟ จะมีรังสี UVA เป็นรังสีที่ไม่ทำให้ผิวไหม้แดง แต่จะทำลายคอลลาเจนได้มากกว่า เพราะทะลุผ่านผิวหนังได้ลึกกว่า
การรับประทานคอลลาเจนเสริม ก็เสมือนกับการให้แหล่งวัตถุของคอลลาเจนแก่ร่างกาย ซึ่งคอลลาเจนจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะมีข้อดีกว่าคอลลาเจนที่ได้ จากการรับประทานเนื้อสัตว์ ตรงที่ไม่มีไขมันและคอลเลสเตอรอล เมื่อร่างกายได้รับคอลลาเจนแล้ว คอลลาเจนจะถูกย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เป็นกรดอะมิโน และถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย โดยแหล่งคอลลาเจนที่ได้จากปลา จะย่อยและดูดซึมได้ง่ายกว่าคอลลาเจนจากวัว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รูปแบบของคอลลาเจนต่างชนิดกันมีผลต่อการดูดซึม
จากการศึกษาในอาสาสมัครสุขถาพดี 12 คน ที่รับประทานคอลลาเจนในรูปที่ย่อยเพื่อให้ดูดซึมง่าย ซึ่งเรียกว่า คอลลาเจนไฮโดรไลเซต โดยเปรียบเทียบชนิดของคอลลาเจนไฮโดรไลเซต ต่างชนิดปริมาณตั้งแต่ 9.4 - 23 กรัม พบว่าคอลลาเจนไฮโดรไลเซต สามารถดูดซึมสู่ลำไส้ได้ แต่มีเพียงคอลลาเจนไฮโดรไลเซต จากไก่เท่านั้นที่อยู่ในรูปของกรดอะมิโน 3 สาย
จากการศึกษาเปรียบเทียบ ผลการรับประทานคอลลาเจนไฮโดรไลเซตจาก เกร็ดปลา หนังปลา และหนังหมู กับอาสาสมัครสุขถาพดี 5 คน แล้วตรวจวัดระดับ และรูปแบบของกรดอะมิโนในเลือดพบว่า กลุ่มที่รับประทานคอลลาเจนไฮโดรไลเซต จากเกร็ดปลาเท่านั้น ที่มีคอลลาเจนไฮโดรไลเซตที่อยู่ในรูปกรดอะมิโน 3 สาย และหากรับประทานคอลลาเจนร่วมกับวิตามินซี (Vitamin C) ก็จะเสริมประสิทธิภาพการดูดซึม
อย่างไรก็ตาม หากอายุมากขึ้นการดูดซึมคอลลาเจนเสริม ก็ไม่ช่วยให้ร่างกายสร้างคอลลาเจนได้มากขึ้น และเนื่องจาก คอลลาเจนมีราคาค่อนข้างสูง หากยอมรับเรื่องราคาได้ การรับประทานคอลลาเจนก็ไม่มีโทษ แต่หากต้องอดอาหารเพื่อเอาเงินมาซึ้อคอลลาเจน ก็ไม่แนะนำนะครับ เนื่องจาก ร่างกายของเราเอง ก็สามารถเปลี่ยนโปรตีนจากอาหารให้เป็นคอลลาเจนได้เช่นเดียวกับที่รับประทานจากคอลลาเจน จากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
พบว่า การได้รับคอลลาเจนไฮโดรไลเซตสายสั้น มีประโยชน์มากกว่าการได้ รับกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับการสร้างคอลลาเจน และทางที่จะช่วยให้ผิงเต่งตึง คือ ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำลายคอลลาเจน และจะได้ผลเมื่อ เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก หากเริ่มในวัยผู้ใหญ่แล้วจะไม่ค่อยมีผล เพราะคอลลาเจนถูกทำลายไปหมดแล้ว การออกกำลังกายบริหารใบหน้าจะช่วยให้กล้ามเนื้อกระชับได้มาก การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยให้ผิวไม่แห้ง รับประทานผักผลไม้ช่วยบำรุงผิว ควรทาครีมที่ช่วยให้ความชุ่มชื้มแก่ผิว (แต่ ครีมที่ผสมคอลลาเจนจะไม่สามารถซึมเข้าสู่ผิวได้ เพราะคอลลาเจนจะมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะถูกดูดซึมผ่านผิวหนังได้) ส่วน การฉีดคอลลาเจนเข้าสู่ผิวก่อให้เกิดการแพ้ได้ และ อย. ก็ไม่อนุญาตด้วย
คอลลาเจน ไม่ได้มีประโยชน์ต่อผิวเพียงอย่างเดียว คอลลาเจนยังมีผลในการ รักษาข้อเข่าเสื่อมด้วย จากงานวิจัยในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม 250 คน โดยการศึกษา แบบ randomized, double-blind, controlled เป็นเวลา 6 เดือน โดยการให้ รับประทานคอลลาเจนไฮโดรไลเซต 10 กรัมต่อวัน เทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก พบว่ากลุ่มที่รับประทานคอลลาเจนไฮโดรไลเซต มีอาการดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนในการรักษาโรค
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: คู่มืออาหารเสริม ฉบับสมบูรณ์, ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์
|
วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
คอลลาเจน (Collagen)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น