เขียนโดย Greenclinic |
ไทโรซีน (Tyrosine)
ไทโรซีน เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์ได้ จัดเป็น กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (non essential amino acid) ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ได้จากกระบวนการแยกสลายด้วยน้ำ (ไฮโดรไลซีส) ของโปรตีน เช่น เครซิน และตัวตั้งต้นของอะดรีนาลีน, ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทรอยด์ (ไทรอกซิน) และเม็ดสี (Melanin)
ไทโรซีน เป็นสารสื่อประสาทที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ เนื่องจากไทโรซีน มีบทบาทในการกระตุ้นและปรับเปลี่ยนการทำงานของสมอง ยกตัวอย่างเช่น เพื่อให้ฟีนิลอะลานีน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น ยับยั้งความอยากอาหาร และอื่นๆ
ฟีนิลอะลานีนต้องเปลี่ยนเป็น ไทโรซีน ก่อนหากไม่มีการเปลี่ยนเป็นไทโรซีน ไม่ว่าจะเป็นเพราะขาดเอนไซม์ หรือเพราะร่างกายส่วนอื่นต้องการใช้ฟีนิลอะลานีน ก็ตาม จะทำให้สมองสร้างสารที่ชื่อว่า นอร์เอพิเนฟวิน น้อยลง และจะส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าขึ้น
ไทโรซีน ส่งเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง และต่อมไทรอยด์ ทั้งยังช่วยกระตุ้นการหลั่งโกร๊ธฮอร์โมน ช่วยแก้ไขอารมณ์ซึมเศร้า ช่วยคลายเครียด ช่วยฟื้นฟูความจำ ช่วยกระตุ้นความรู้สึก เพิ่มแรงขับทางเพศ และการสร้างของนอร์เอพิเนฟวิน ซึ่งช่วยยับยั้งความอยากอาหาร โดยช่วยควบคุมศูนย์กลางความรู้สึกหิวในไฮโปธาลามัสส่วนใต้สมอง ทำหน้าที่เหมือนยาระงับความอยากอาหาร
การทำงานของไทโรซีนยังช่วยส่งผ่านความรู้สึกของระบบประสาทไปยังสมอง ช่วยแก้ไขอารมณ์ซึมเศร้า ช่วยฟื้นฟูความจำ ช่วยกระตุ้นความรู้สึก ช่วยให้ต่อมไธรอยด์ ต่อมอะดรินาลีน และต่อมพิทูอิทารี ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ตื่นตัวได้ดียิ่งขึ้นหลังการอดนอน ทั้งยังใช้ได้กับภาวะที่เกิดความเครียด การไร้สมรรถภาพทางเพศ การหมดความรู้สึกทางเพศ โรคจิตเภท
การศึกษาทางคลินิก พบว่าไทโรซีน เสริมอาหารช่วยควบคุมอาการซึมเศร้า และวิตกกังวลที่ไม่ตอบสนองต่อยา และยังช่วยให้ผู้ป่วยที่ติดยาแอมเฟตามีน (เพื่อช่วยปรับระดับอารมณ์ให้รู้สึกสบายใจ หรือใช้ลดความอ้วน) ลดขนาดการใช้ยาลงจนต่ำสุดได้ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์
ไทโรซีน ยังช่วยผู้ติดโคเคน ให้เลิกพฤติกรรมการใช้ยาได้ โดยช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า อ่อนเพลีย หรือหงุดหงิดงุ่นง่านซึ่งเกิดในช่วงหยุดยา สูตรที่ใช้ได้ผลคือ ไทโรซีนละลายในน้ำส้ม และรับประทานพร้อมกับวิตามินซี ไทโรซีน ไฮดรอกซิเลส (เอนไซม์ที่ช่วยให้ร่างกายใช้งานไทโรซีนได้) วิตามินบี1 วิตามินบี2 และไนอะซีน หากรับประทานไทโรซีนเสริมอาหาร ควรรับประทานพร้อมมื้ออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก หรือก่อนนอน เพื่อให้ไม่เกิดการแข่งกันดูดซีมเข้าสู่ร่างกายกับกรดอะมิโนตัวอื่นๆ
ร่างกายสร้างสารโดปามีนขึ้นมาจากกรดอะมิโน ไทโรซีน โดยร่างกายได้จากอาหารประเภทโปรตีนสูง (มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ) เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเหลือง อาหารทะเล ไข่ และนม จะช่วยให้สมองมีพลัง กระฉับกระเฉง และตื่นตัว เมื่อร่างกายหลั่งสารโดปามีนออกมาจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลมีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น ไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ รอบตัว ระดับโดปามีนในสมองสูงขึ้นจากอาหารจำพวกโปรตีนสูง
แหล่งที่พบไทโรซีน ในธรรมชาติ พบมากใน ผลมะเม่า, กล้วย, ผลิตภัณฑ์จากนม, ผลอะโวคาโด, อัลมอนด์, เมล็อฟักทอง และเมล็ดงา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
|
วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ไทโรซีน (Tyrosine)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น