เขียนโดย Greenclinic |
วาลีน (Valine)
วาลีน จัดอยู่ในกลุ่มกรดอะมิโนจำเป็น ที่ได้จากการย่อยสลายของโปรตีน และถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักเคมีเยอรมันชื่อ เอมิล ฟิสเชอร์ ในปี 1901 พบมากในกล้ามเนื้อ ช่วยกระตุ้นสมรรถนะของสมองและการประสานงานกันของกล้ามเนื้อ
กรดอะมิโนวาลีน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการ Muscle Metabolism ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพลังงานในกล้ามเนื้อ ซึ่งรวมถึงเชื้อเพลิงสำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อ ขบวนการสันดาปของเชื้อเพลิงเหล่านั้นและเปลี่ยนพลังงานไปในการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดงานที่ทำโดยกล้ามเนื้อขึ้น เชื้อเพลิงจะได้มาจากอหารที่เรารับประทานเข้าไป อาหารจะถูกย่อยและถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด จากนั้นกระแสเลือดจะนำอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และส่วนที่เหลือจะเก็บไว้ในอวัยวะต่างๆ ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้พลังงาน ร่างกายจึงจะดึงเอาอาหารนั้นๆ มาใช้ในการเผาผลาญให้พล้งงานแก่กล้ามเนื้อ วาลีนยังสำคัญต่อการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และการบำรุงรักษาสมดุลของไนโตรเจนในร่างกาย
นอกจากนี้ วาลีนยังเป็นหนึ่งใน Branched Chain Amino Acids (BCAAs) ซึ่ง ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิด คือ วาลีน (Valine) ไอโซลิวซีน (Isoleucine) และลิวซีน (Leucine) จัดอยู่ในกลุ่ม กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ (Essential Amino Acids) ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ช่วยเพิ่มกำลังให้กับร่างกาย โดยร่างกายจะใช้ BCAAs เป็นเชื้อเพลิงในการเสริมสร้างและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานแก่ร่างกาย ทำให้ต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้ดียิ่งขึ้น
แหล่งที่พบวาลีน ในธรรมชาติ พบมากในผลิตภัณฑ์จากนม, เนื้อ, เมล็ดธัญพืช, เห็ด, ถั่วเหลือง, ผลมะเม่า และถั่วลิสง
* โกรธฮอร์โมน(Growth Homone) ถูกหลั่งมาจากต่อมใต้สมอง ในช่วงเวลา 3 ทุ่มถึงเที่ยงคืน และหลังจาก 30 นาทีแรกของการนอนหลับ ซึ่งหากไม่มีโกรธฮอร์โมนก็จะทำให้สุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจไม่แข็งแรง การเจริญเติบโตช้า สมองเสื่อมง่าย ไม่ค่อยตื่นตัว เซื่องซึม ฮอร์โมนเพศเสื่อม และดูแก่ก่อนวัย และที่สำคัญการนอนหลับพักผ่อนน้อยจะทำให้เส้นเลือดในร่างกายไม่แข็งแรงและเปราะบางง่าย จึงเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดเส้นเลือดฝอยในสมองตีบหรือแตกได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
|
วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
วาลีน (Valine)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น