เขียนโดย Greenclinic |
ซีสเทอีน (Cysteine)
ซีสเทอีน หรือแอล-ซีสเทอีน(L-Cysteine) เป็นกรดอะมิโน ชนิดหนึ่งที่เป็นสารตั้งต้นในการการสร้าง กลูต้าไธโอนให้กับร่างกายโดยจะทำงานร่วมกันกับ ไกลซีน(Glycine) และกรดกลูตามิก(Glutamic acid) ที่มีมากในของร่างกายเรา และสารที่จะสั่งให้เกิดการฟอร์มพันธะเป็นกลูต้าไธโอนได้นั้นคือ กลุ่มวิตามินซี หรือแคลเซียม แอสคอร์เบต (Calcium Ascorbate) ถูกสร้างขึ้นที่ตับ
ซีสทีน (Cystine) เป็นรูปที่เสถียรของซีสเทอีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบ ซีสทีนเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับการชะลอวัย ร่างกายสามารถเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ระหว่าง ซีสทีนและซีสเทอีน ทั้งสองรูปถือเป็นกรดอะมิโนเดี่ยวในกระบวนการเผาผลาญอาหาร เมื่อซีสทีนถูกเผาผลาญแล้วจะได้ผลลัพธ์เป็นกรดซัลฟูริก ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆ ช่วยในการขับสารพิษออกจากระบบต่างๆ ของร่างกาย ป้องกันร่างกายจากโลหะหนักที่เป็นอันตราย ทั้งยังช่วยกำจัดอนุมุลอิสระในร่างกายได้ดี
ซีสทีนเป็นกรดอะมิโน ที่มีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะในซีสทีนและเมไทโอนีน จะช่วยป้องกันการเป็นพิษจากทองแดง (Copper) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีทองแดงสะสมในกร่างกายมาก เป็นข้อบ่งชี้ว่าคุณเป็นโรควิลสัน (Wilson’s disease), การสะสมทองแดงที่มากขึ้นจะเป็นพิษต่อไต สมอง และตา ซีสทีนและซีสเทอีน จะช่วยขัดขวางและปกป้องร่างกายของเราจากโลหะหนักที่เป็นอัตราย และทำหน้าที่กำจัดอนุอิสระ ให้กับร่างกายของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังช่วยในการสร้างเอ็นไซม์ต้านอนุมูลอิสระ โดยทำหน้าที่ร่วมกับวิตามินซี ซึ่งได้ร่วมกันซ่อมแซมสารพันธุกรรม ที่อาจเปลี่ยนแปลงการเป็นมะเร็งได้ และยังช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย
แอล-ซีสเทอีน(L-Cysteine) ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ไทซิเนส(Tysinase) ไม่ให้สามารถเปลี่ยนเป็นโดปาควินโนน( Dopaquinone) ซึ่งมีผลทำให้สร้างเม็ดสีน้อยลง จึงทำให้มีผิวขาวขึ้นได้ มีคุณสมบัติลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน ต้านการเสื่อมของเซลล์ผิว ส่งผลให้ผิวหน้า ขาวสวยใส เรียบเนียน เปล่งปลั่ง แก้ปัญหาฝ้า กระ และจุดด่างดำ
คุณประโยชน์ที่สำคัญของอะมิโนซีสทีน(Cystine) และซีสเทอีน(Cysteine)
ข้อควรระวัง: ไม่แนะนำให้ผู้ที่เป็นเบาหวานรับประทานซิสทีน หรือซีสเทอีน วิตามินซี และวิตามินบี1 ในปริมาณมาก และควรรับประทานภายใต้การดูแลจากแพทย์เท่านั้น (การรับประทานอาหารเสริมเหล่านี้ร่วมกัน อาจลดประสิทธิภาพของอินซูลินได้)
แหล่งที่พบกรดอะมิโนซีสทีน หรือซีสเทอีนในธรรมชาติ ร่างกายสามารถสังเคราะห์ซีสเทอีน(cysteine) จากกรดอะมิโนเมไธโอนีน และได้รับจากอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น สัตว์ปีก, ข้าวสาลี, บร๊อคโคลี่, ไข่, กระเทียม, หัวหอม, ผลมะเม่า และพริกแดง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
|
วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ซีสทีน(Cystine)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น