เขียนโดย Greenclinic |
ไกลซีน (Glycine)
ไกลซีน จัดอยู่ในกลุ่ม กรดอะมิโนไม่จำเป็น (non-essential amino acid) มีรสหวาน จำเป็นสำหรับการสร้างโปรตีนในร่างกาย การสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก การสร้างของ RNA, DNA, กรดน้ำดี และกรดอะมิโนอื่น ๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ยังพบอีกว่ามีประโยชน์ในการช่วยดูดซึมของแคลเซียมในร่างกาย และเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน ไกลซีน เป็นกรดอะมิโนที่มีบทบาทสำคัญมากในการช่วยเพิ่มการโอบอุ้มน้ำให้แก่เซลล์ผิวและรักษาความยืดหยุ่นของผิวหนัง
ไกลซีน มีประโยชน์ต่อสุขภาพที่โดดเด่นหลายประการ เช่น ไกลซีนให้ผลดีต่อการรักษาภาวะต่อมใต้สมองทำงานน้อย และเนื่องจากไกลซีนช่วยเพิ่มครีเอทีนีนให้แก่ร่างกาย (ครีเอทีนีน เป็นสารที่สำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ) มันจึงใช้ได้ผลในการรักษาโรคกล้ามเนื้อฝ่อลีบ และที่น่าสนใจอีกประเด็นคือ หากร่างกายได้รับไกลซีนในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้รู้สึกสดชื่น และมีพลังงาน แต่หากได้รับมากเกินไปจะทำให้รู้สึกอ่อนเพลียได้
ไกลซีน มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง จึงถูกนำไปใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าแบบคลุ้มคลั่งและอาการไฮเปอร์ และยังอาจช่วยป้องกันอาการของโรคลมชัดได้ด้วย
ปัจจุบัน แพทย์ทางโภชนาการหลายท่าน ใช้ไกลซีนในการรักษาภาวะน้ำตาลต่ำ (ไกลซีน กระตุ้นการหลั่งของกลูคากอน ซึ่งย่อยสลายไกลโคเจนเปลี่ยนรูปเป็นน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด)
นอกจากนี้ ไกลซีนยังถูกใช้ในการรักษาภาวะกรดในกระเพาะมากเกินไปอย่างได้ผล กรดอะมิโนชนิดนี้จึงมักถูกรวมไว้ในยาลดกรดหลายชนิดด้วยเช่นกัน ทั้งยังใช้ในการรักษาภาวะเลือดเป็นกรดบางกรณี โดยเฉพาะกรณี ลิวซีนไม่สมดุล ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติของกลิ่นตัวและลมหายใจ ซึ่งก่อนหน้านี้รักษาได้เพียงวิธีเดียวคือ จำกัดอาหารที่มีลิวซีน
จากผลวิจัยพบว่า ไกลซีน เพิ่มความจำในผู้ที่ประสบปัญหาหลากหลายจาก การนอนหลับ รวมถึงโรคจิตเภท, โรคพาร์คินสัน, Huntington’s disease (โรคที่ก่อให้เกิดความผิดปกติที่มีผลต่อการประสานงานของกล้ามเนื้อ และกระบวนการคิด), โรคเจ็ตแล็ก (Jet Lag) และความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนักเกินไป
การขาดไกลซีน ร่างกายจะไม่สามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายได้ ผิวจะหย่อนคล้อยและไม่สามารถต้านทานต่อการทำร้ายผิวจากรังสียูวีและอนุมูลอิสระได้ และหากมีบาดแผลจะยากต่อการรักษา
แหล่งที่พบ ไกลซีน ในธรรมชาติ พบมากในโปรตีนจากเนื้อปลา, ผลมะเม่า, เนื้อสัตว์ต่างๆ, ถั่ว, ผลิตภัณฑ์จากนม และชีส
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
|
วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ไกลซีน (Glycine)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น