วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ไลซีน (Lysine)

เขียนโดย Greenclinic   

ไลซีน (Lysine)

ไลซีน (Lysine) คือ กรดอะมิโน ชนิดหนึ่ง ซึ่งจัดเป็น กรดอะมิโนจำเป็น ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากสารอาหารอื่นๆ ไลซีน มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการสร้างโปรตีนที่สำคัญต่อร่างกาย โดยร่างกายต้องการไลซีนเพื่อการเจริญเติบโต การซ่อมแซมเนื้อเยื่อ การสร้างภูมิต้านทาน ฮอร์โมน รวมถึงเอนไซม์ต่างๆ
ประโยชน์ของกรดอะมิโนไลซีน ที่มีต่อร่างกาย
  • ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย มีส่วนในการช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย
  • เสริมสร้างภูมิต้านทาน ฮอร์โมน และเอนไซม์ต่างๆในร่างกาย
  • กำจัดโรคต่างๆ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่นโรคเริม(Herpes), โรคติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ โรคติดเชื้ออีบีวี (Epstein-Barr virus infection), โรคงูสวัด (Shingles) 
  • ช่วยเสริมสร้างสมาธิให้ดียิ่งขึ้น 
  • ช่วยให้ร่างกายนำกรดไขมันมาใช้เผาผลาญให้เป็นพลังงาน
  • ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ป้องกันและรักษาโรคกระพรุน
  • ป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน
  • ช่วยบรรเทาปัญหาด้านการสืบพันธุ์บางประการ 
  • ช่วยรักษาเด็กส่าไข้
  • ช่วยปรับสมดุลของระดับไนโตรเจน ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
  • ช่วยรักษาอาการที่มีจากหัวใจขาดเลือด

โรคเริม (Herpes) สำหรับผู้ที่เป็นโรคเริม(ตุ่มใสที่ริมฝีปาก หรือบริเวณอวัยวะเพศ) ควรรับประทานอาหารเสริมไลซีนในขนาดประมาณ 3,000-6,000 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับอาหารที่มีไลซีนสูงด้วย และในกรณีที่มีตุ่มน้ำใสหรือมีแผลพุพองที่ปากควรรับประทาน 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวันในระหว่างมื้ออาหาร ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการกำเริบของโรคได้ดีมาก
อาการที่บ่งบอกถึงภาวะการขาดกรดอะมิโนไลซีน หากคุณรู้สึกเหนื่อยง่าย ไม่มีสมาธิ ตาแดงเพราะเส้นเลือดฝอยแตก คลื่นไส้ วิงเวียน ผมร่วง และมีภาวะโลหิตจาง
สำหรับผู้เป็นมังสวิรัติอาจมีความเสี่ยงที่ร่างกายจะขาดไลซีนได้ หากร่างกายได้รับไลซีนไม่เพียงพอ เราสามารถรับรู้ถึงสัญญาณบางอย่างของการขาดไลซีน อย่างเช่น การเป็นโรคโลหิตจาง อาการเมื่อยล้า เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และอาจทำให้เกิดโรคนิ่วในไต
คนสูงอายุ โดยเฉพาะในเพศชาย จะต้องการไลซีนมากกว่าคนอายุน้อย แต่อายุต่ำกว่า 10 ขวบ ไม่ควรรับประทานไลซีนเสริม หากคุณเป็นโรคเริม แนะนำให้รับประทานไลซีนเสริมในขนาด 3-6 กรัมต่อวัน ร่วมกับอาหารที่มีไลซีนสูง สำหรับตุ่มน้ำใสหรือแผลพุพองที่ปาก แนะนำให้รับประทานไลซีนเสริม 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน จะป้องกันอาการกำเริบได้ดีมาก
แหล่งที่พบกรดอะมิโนไลซีน ในธรรมชาติ ไข่ นม ปลา ชีส ยีสต์ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง และอาหารที่มีโปรตีนสูงทุกชนิด
ข้อควรระวัง สำหรับการรับประทานอะมิโนไลซีน
  • เด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบไม่ควรรับประทานไลซีนเสริมอาหาร นอกจากจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ได้
  • หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะรับประทานไลซีนเสริมอาหาร
  • สำหรับผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะ ไม่ควรรับประทานไลซีนเสริมอาหาร
  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องตับหรือไต ไม่ควรรับประทานไลซีนเสริมอาหาร

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: วิตามินไบเบิล, ดร.เอิร์ล มินเดลล์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น