วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เมไธโอนีน (Methionine)

ขียนโดย Greenclinic   

เมไธโอนีน (Methionine)

เมไธโอนีน จัดอยู่ในกลุ่ม กรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acids) เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหาร เมทไธโอทีน ร่วมกับกรดอะมิโนไลซีน (lysine) ยังมีบทบาทในการสังเคราะห์ แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine) ซึ่งช่วยในการเผาผลาญไขมัน
เมไธโอนีน เป็นกรดอะมิโนที่ช่วยในการย่อยสลายไขมัน มีบทบาทสำคัญในการช่วยป้องกันการสะสมของไขมันในตับ และช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง เช่นเดียวกับซีสทีน ช่วยป้องกันร่างกายจากสารพิษ ช่วยรักษาอาการของผู้ป่วยโรคจิตเภทบางราย โดยจะช่วยลดระดับของสารฮีสตามีนในเลือด ซึ่งอีสตามีนเป็นตัวการที่ทำให้สมองส่งผ่านสื่อประสาทที่ผิดไปจากความเป็นจริง
เมไธโอนีนยังมีประโยชน์ต่อผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด เนื่องจาก ช่วยเพิ่มการขับเอสโทรเจนส่วนเกินออกจากร่างกายได้ เมทไธโอนี ยังเป็นผู้ให้ เมธิล ที่เรียกว่ากลุ่มเมธิล ที่ให้ความหลากหลายทางเคมีและปฏิกิริยาการเผาผลาญภายในร่างกาย
หน้าที่สำคัญของ เมไธโอนีน คือ เป็นแหล่งที่ให้ซัลเฟอร์(Sulfur) หรือที่เราเรียกว่ากำมะถัน และสารประกอบอื่น ๆ ที่จำเป็นแก่ร่างกาย โดยร่างกายจะใช้กำมะถันสำหรับการเผาผลาญและการเจริญเติบโตตามปกติ หากร่างกายขาดหรือมีปริมาณของกำมะถันที่ไม่เพียงพอ ร่างกายจะไม่สามารถสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ และจะไม่สามารถนำสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้รับมาจากแหล่งต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
เมทไธโอนีน จะถูกนำไปใช้สร้างเป็นกรดอะมิโน ซีสตีน (cystine) ซึ่งหากร่างกายได้รับกรดอะมิโนเมทไธโอนีนไม่เพียงพอจะมีผลให้เกิดอาการซึมเศร้า ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และผิวหนังที่เป็นแผลจะหายช้ากว่าปกติ
นอกจากนี้ เมไธโอนีน ยังเกี่ยวข้องโดยตรงการการเกิด โฮโมซีสเทอีน ซึ่งเป็น กรดอะมิโนที่ประกอบไปด้วยซัลเฟอร์(Sulfur) เป็นการเผาผลาญของกรดอะมิโนเมไธโอนีน ในช่วงระหว่างการเผาผลาญปกติภายในร่างกาย มันจะถูกย่อยให้อยู่ในรูปของ โฮโมซีสเทอีน โดยจะถูกย่อย และถูกเปลี่ยนเป็น ซีสเทอีน อีกครั้งหนึ่ง (ไม่ก่อให้เกิดอันตราย) และมันจะถูกเปลี่ยนกลับเป็น เมไธโอนีน ในขั้นตอนนี้เอนไซม์ต้องการวิตามินบี12 และกรดโฟลิก เป็นผู้ช่วยในการเปลี่ยนสลารชนิดนี้กลับไปเป็น เมไธโอนีน อีกครั้งหนึ่ง
ระดับของโฮโมซีสเทอีน ที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลต่อความเป็นพิษโดยตรง และเกิดผลแห่งการอักเสบบริเวณเยื่อบุผิวของหลอดเลือด จึงเป็นผลให้กลุ่มคนที่มีโฮโมซีสเทอีน สูงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจสูงถึง 3 เท่า ยิ่งระดับของ โฮโมซีสเทอีนยิ่งมาก ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีระดับโฮโมซีสเทอีนสูง มีการขาดแคลน วิตามินบี6, วิตามินบี12 และกรดโฟลิก
เมทไธโอนีน สามารถเปลี่ยนไปเป็น SAMe (S-Adenosyl Methionine) ซึ่งเป็นสารเคมีธรรมชาติที่มีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการปวดจากโรคข้ออักเสบด้วยการเพิ่มระดับสารโปรทีโอไกลแคน (proteoglycan) ในเลือด โปรทีโอไกลแคน มีบทบาทสำคัญในการปกป้องกระดูกอ่อน โดยรักษาสภาพกระดูกอ่อน และเพิ่มปริมาณออกซิเจนในข้อ มีงานวิจัยพบว่า SAM-e มีประสิทธิภาพบรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบได้เท่ากับยาไอบูโพรเฟน
เมทไธโอนีน เป็นสารต้านอีสตามีน(anti-histamine) เนื่องจากฮิสตามีนเป็นสารเคมีตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการแพ้ต่างๆ เมทไธโอนีน จึงช่วยลดอาการแพ้ต่างๆ ยับยั้งการหลั่งสารก่อภูมิแพ้ฮีสตามีนและสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ จากการบริโภคอาหารที่มีระดับของฮีสตามีน (Histamine) สูง สารก่อภูมิแพ้ (allergen) ได้แก่ สารต่างๆทั้งที่มีอยู่เองตามธรรมชาติ หรือสารที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น โดยทั่วไปคนที่เป็นโรคภูมิแพ้มักแพ้สารต่อไปนี้ คือ ละอองเกสรดอกไม้ ขนสัตว์ พิษแมลง อาหาร (เช่นไข่ นม ปลา อาหารทะเล)
เมทไธโอนีน เสริมประสิทธิการทำงานของตับอ่อน จึงช่วยแก้ปัญหาระบบการย่อยอาหาร ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
แหล่งที่พบเมไธโอนีน ในธรรมชาติ พบมากในผลมะเม่า, เมล็ดงา, ถั่วต่างๆ, ปลา, กระเทียม, ถั่วเหลือง, หัวหอม, เนื้อสัตว์, เมล็ดธัญพืชต่างๆ และโยเกิร์ต
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
  • Bionutrition, นายแพทย์เรย์ ดี. แสตรนด์
  • วิตามินไบเบิล, ดร.เอิร์น มินเดล
  • http://www.drlam.com/opinion/methionine.asp

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น